ตาก-คณะกรรมการตรวจประเมินผลงานโครงการคัดเลือกหมู่บ้านเข้มแข็ง
ตาก-คณะกรรมการตรวจประเมินผลงานโครงการคัดเลือกหมู่บ้านเข้มแข็ง
ภาพ/ข่าว:ชวลิต วิกุลชัยกิจ
เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. นายธันย์ปวัฒน์ ภูริวัฒนเมธา นายอำเภออุ้มผาง พร้อมด้วยสาธารณสุขอำเภออุ้มผาง นายกอบต.อุ้มผาง หัวหน้าส่วนราชการ ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุ้มผาง ครูกศน. กำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน ให้การต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินผลงานโครงการคัดเลือกหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทางแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง (หมู่บ้านอยู่เย็น) ประจำปี 2566 ณ.บ้านเซปะหละ ม.2 ต.แม่ละมุ้ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก
คณะกรรมการตรวจประเมินผลงานโครงการคัดเลือกหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทางแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง (หมู่บ้านอยู่เย็น) ประจำปี 2566 นายสิทธิชัย พรทิพย์พิทักษ์ พัฒนาการจังหวัดตาก นายสิงห์คาร อ้นมั่น จ่าจังหวัดตาก นายพันธุ์ เปรมสัย หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ นายนวพล รอดสังข์ ผู้ช่วยจ่าจังหวัดตาก บ้านเซปละเป็นชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง เดิมบ้านเซปละด้านเหนือเรียกว่า เครอะโด่ และด้านใต้เรียกว่า เซะวาลอโกรอะ และเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว มีปลัดท่านหนึ่งขึ้นมาสำรวจประชากรของชุมชน และเห็นต้นไม้ที่มีรังผึ้งขึ้นตามกิ่งก้านเต็มไปด้วยรังผึ้ง แล้วปลัดท่านนั้นได้ห้ามไม่ใครทำลายรังผึ้งบนต้นไม้นั้น ชาวบ้านเลยเรียกต้นไม้นั้นว่า เซปะหละ แปลเป็นภาษาไทยวว่า ต้นปลัดจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านว่า เซปะหละ เขตพื้นที่ทิศเหนือ ติดกับ บ้านปะหละทะ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ละมุ้ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ทิศใต้ ติดกับอำเภอสังขละบุรี จังหวัดาญจนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านแม่ละมุ้งคีหมู่ที่ 4ตำบลแม่ละมุ้ง และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ทิศตะวันตก ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
กิจกรรมงานพัฒนาชุมชนในหมู่บ้านเซปะหละ หมู่ 2ตำบลแม่ละมุ้ง มีกิจกรรมงานพัฒนาชุมชนในหมู่บ้าน ดังนี้
1.กองทุนชุมชน
2. ส่งเสริมการออมทรัพย์
3. การประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกับประชาชนอย่างน้อยเดือนละ 1ครั้ง
4. วิสาหกิจชุมชนการเพาะกล้าไม้และเกษตรผสมผสาน
5. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
โครงการหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทางแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง หมู่บ้านอยู่เย็น จัดทำโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากฐานรากตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านจึงกำหนดการคัดเลือกหมู่บ้านเข้มแข็งดีเด่นขึ้น โดยให้ใช้หลักเกณฑ์พิจารณา เช่น ด้านการบริหารองค์กร การพัฒนาหมู่บ้าน และผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติในภาพรวม เพื่อคัดเลือกหมู่บ้านดีเด่นระดับจังหวัดตาก เพื่อส่งประกวดในระดับเขตและระดับประเทศต่อไป