ร้อยเอ็ด-โรงเรียนไพโรจน์วิชชาลัยจัดพิธีไหว้ครู เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงพระคุณคุณครู อาจารย์

ร้อยเอ็ด-โรงเรียนไพโรจน์วิชชาลัยจัดพิธีไหว้ครู เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงพระคุณคุณครู อาจารย์

ร้อยเอ็ด-โรงเรียนไพโรจน์วิชชาลัยจัดพิธีไหว้ครู เพื่อเป็นการรำลึกนึกถึงพระคุณคุณครู อาจารย์

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน
เมื่อเวลา 09.00น.วันที่ 15 มิถุนายน 2566 นายจีรวัฒน์ ภูอาบทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนไพโรจน์วิชชาลัย เป็นประธานในพิธีไหว้ครู ณ อาคารเอนกประสงค์โรงเรียนไพโรจน์วิชชาลัย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณครู อาจารย์ ที่ได้สั่งสอนอบรมศิษย์ โดยมีคณะคุณครู นักเรียน และศิษย์เก่าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก
         นายจีรวัฒน์ ภูอาบทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ กล่าวให้โอวาทว่า พิธีไหว้ครูหรือบูชาครูเป็นพิธีที่สำคัญตามประเพณีไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ และมีอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพของคนไทย โดยจัดขึ้นเพื่อให้ศิษย์ได้แสดงความกตัญญูกตเวที  แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือ ต่อครูอาจารย์ว่า ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการ ศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ และการที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ พิธีไหว้ครูจึงเป็นเหมือนการประกาศความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ที่จะมั่นคงยืนยาวตลอดไปตามประเพณีพิธีใหว้ครูที่มีมาแต่โบราณนี้ ผู้เป็นศิษย์มักจะมีการเตรียมดอกไม้และสิ่งของต่างๆ 4 อย่าง มาเป็นเครื่องบูชาครู ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีนัยยะสำคัญ อันเป็นมงคลและเป็นข้อเตือนใจให้กับผู้เป็นศิษย์ ได้แก่ หญ้าแพรก หมายถึง ขอให้ศึกษาเรียนรู้ได้เร็วเหมือนหญ้าแพรกที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำว่ากล่าวตักเตือนของ ดอกเข็ม หมายถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม  ดอกมะเขือ หมายถึง ขอให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เหมือนดอกมะเขือที่คว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกผล ข้าวตอก หมายถึง ขอให้ตั้งใจรับการอบรมจากครูอาจารย์ เพราะในการศึกษา ครูต้องอบรมศิษย์ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้วย “อบเพื่อให้สุก รมเพื่อให้หอม” เช่นเดียวกับการทำข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก นักเรียนหลายคนในที่นี้ คงจะพอทราบว่าคำว่า “ครู” นั้นมาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ)ที่แปลว่า “หนัก” ทั้งนี้เพราะผู้เป็น “ครู” จะต้องทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจอย่างหนักยิ่งกว่าที่จะอบรมสั่งสอนให้คน ๆ หนึ่งเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม และด้วยเหตุนี้ครูจึงเป็นบุคคลที่สังคมไทยให้การยกย่องเสมือนพ่อแม่คนที่สองของศิษย์ ครูบาอาจารย์อย่างไรก็ตาม นักเรียนอาจจะเคยได้ยินคำเปรียบเทียบว่า อาชีพของครูนั้นเหมือนกับเรือจ้าง ที่มีหน้าที่ส่งศิษย์ให้ไปถึงฝั่งฝันหรือฝั่งแห่งความสำเร็จ คำกล่าวนี้
           อาจจะถูกต้องเพียงแค่ครึ่งเดียว ทั้งนี้เพราะ การศึกษาที่มีครูเป็นผู้ป้อนความรู้ข้อมูลต่างๆให้ผู้เรียนรับเพียงฝ่ายเดียวนั้น ไม่สามารถจะทำให้การศึกษาสัมฤทธิ์ผลอย่างเต็มที่ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพผู้เรียนควรต้องให้ความร่วมมือกับครูผู้สอนมีความใฝ่ใจในการศึกษา เชื่อฟัง และขยันหมั่นเพียรในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม จึงอาจกล่าวได้ว่าเมื่อครูมีความพร้อมจะทำหน้าที่เป็นผู้แจวเรือที่ดีแล้ว นักเรียนก็ควรทำหน้าที่เป็น ผู้โดยสารเรือที่ดีด้วย เช่น ไม่เอาเท้าราน้ำ และควรช่วยครูพายเรือเพื่อไปสู่จุดหมายได้ อย่างรวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!