ลพบุรี-กรมชลประทานจัดโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในระยะยาว
ภาพ-ข่าว:กฤษณ์ สนใจ
กรมชลประทาน จัด โครงการปรับปรุงโครงการส่งน้ำในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลาง แก้ปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในระยะยาว
ที่เรือนรับตะวัน อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี นาง เพชรรัตน์ เลิศรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธาน เปิดการปฐมนิเทศรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ และช่องแค โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน รวมถึงผู้แทนกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ และตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท และนครสวรรค์ กว่า 200 คน เข้าร่วม
ทั้งนี้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์และช่องแค เป็นโครงการในลุ่มเจ้าพระยาใหญ่ รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองชัยนาท-ป่าสัก มีพื้นที่ชลประทานครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยประตูระบายน้ำมโนรมย์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.วัดโคก อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำ ที่รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก ผ่านประตูระบายน้ำช่องแค ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ต.พรหมนิมิต อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เพื่อส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม ทั้ง นครสวรรค์ ลพบุรี สิงห์บุรี และ สระบุรี บางส่วน ซึ่งปัจจุบัน ระบบชลประทานของโครงการ มีประสิทธิภาพลดลงและไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน เนื่องจากก่อสร้างมาเป็นเวลานาน กว่า 50 ปี และอาคารบางแห่งชำรุดเสียหาย แม้ว่าจะมีการปรับปรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลาก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ กรมชลประทาน ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยต้องดำเนินการปรับปรุงระบบชลประทานของทั้ง 2 โครงการ ให้มีความสอดคล้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของชัยนาท-ป่าสัก และเป็นการนำน้ำมาใช้ประโยชน์กับระบบชลประทานของโครงการได้อย่างเหมาะสม จึงนำไปสู่การศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางแก้ไขปัญหา และเกิดกระบวนการคิดร่วมกัน ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะ ที่สามารถนำมาพัฒนาโครงการ ซึ่งกรมชลประทานและคณะผู้ศึกษาพร้อมรับฟัง และจะได้นำไปพิจารณาประกอบการศึกษาในรายละเอียดต่อไป
ด้านนายอนุสรณ์ ตันติวุฒิ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 กล่าวว่าการจัดโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์และช่องแค ถือเป็นประโยชน์โดยตรง ต่อเกษตรกรผู้ใช้น้ำ เนื่องจาก ประตูระบายน้ำและระบบการส่งน้ำ ทั้ง 2 โครงการ มีอายุในการก่อสร้างมาแล้วกว่า 50 ปี หากมีการแก้ไข้ปรับปรุง จะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และอุกภัย ในพื้นที่ได้ในระยะยาว
เช่นเดียวกับ นางสาวลภิณโกฬร์ จาตะวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์เศรษฐกิจ กรมชลประทาน ระบุว่า ,,,,กรมชลประทาน ยึดการทำงานตามยุทธศาสตร์ และนโยบายของ ภาครัฐ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามแผ่นพัฒนาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ตามตัวชีวัด ในเรื่องของประสิทธิ์ภาพ ของการใช้น้ำชลประ ทาน ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่ กรมชลประทาน ต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้การส่งน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้การส่งน้ำตรงตามรอบเวร ที่แน่นอน ครอบ คลุมพื้นที่ ได้อย่างทั่วถึงในระยะยาว