ปทุมธานี-วัดโบสถ์ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ ไทย-รามัญ ภักดี 1,510 ชีวีปทุมธานี ถวายพระพรชัย

ปทุมธานี-วัดโบสถ์ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์ ไทย-รามัญ ภักดี 1,510 ชีวีปทุมธานี ถวายพระพรชัย

ภาพ-ข่าว:อนันต์ วิจิตรประชา

                วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ที่วัดโบสถ์ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เป็นประ ธานพิธีเปิดกิจกรรม “ไทย-รามัญ ภักดี 1,510 ชีวีปทุมธานี ถวายพระพรชัย” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ใต้ร่มพระบารมี 250 ปี แผ่นดินสยาม โดยมีคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและพนักงาน อบจ.ปทุมธานี พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายชาติพันธุ์มอญจากจังหวัดต่าง ๆ อาทิ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดลพบุรี รวมทั้งชาวไทยเชื้อสายรามัญที่อาศัยอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดอำเภอทั้ง 7 อำเภอมาร่วมพิธีรำถวายพระพรเพื่อแสดงความจงรักภักดี
                พระราชมหาเจติยาภิบาล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รักษาการเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ เปิดเผยว่า ทุกวันนี้แม้จังหวัดปทุมธานีจะเป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็นของคนมอญ ดังคำขวัญจังหวัดปทุมที่ว่า ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม แต่เมื่อเรามองไปในข้อเท็จจริงจะเห็นว่าในจังหวัดปทุมธานีเรายังไม่เคยเห็นกิจกรรมอะไรที่เด่นที่บ่งบอกว่าเป็นถิ่นหรือที่อยู่ของคนมอญเลย อาตมาเป็นคนอีสาน แต่ว่าพระอุปัชฌาย์คือพระธรรมสิริชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราม ท่านเป็นคนมอญจังหวัดปทุมธานี และเคยอาศัยอยู่ในวัดโบสถ์หลวงปู่เทียนซึ่งเป็นพระมอญ พระเกจิในพื้นที่ จึงอยากทำเพื่อถวายพระอุปัชฌาย์ แสดงอัตลักษณ์ความเป็นมอญในจังหวัดปทุมธานี อยากให้ทำเป็นงานประจำปี
          ในขณะเดียวกันอยากให้ชุมชนมอญรอบวัดโบสถ์หรือชาวไทยเชื้อสายรามัญในจังหวัดปทุมธานีตื่นตัวมาร่วมกันรักษารากเหง้าภูมิปัญญาของคนเอง มาร่วมกันฟื้นฟูสิ่งดี ๆ ที่ตนเองมีอยู่ให้คนทั้งประเทศได้รับรู้ อาตมาจึงปรึกษากับคณะกรรมการมูลนิธิรามัญรักษ์ ที่เขาทำเรื่องมอญมานาน ว่า อยากทำตรงนี้ ช่วยคิดกันหน่อย ตอนแรกคิดจะทำเรื่องมอญ 250 ปีที่เข้ามาถึงพระบรมโพธิสมภารมาอยู่ในจังหวัดปทุมธานีโดยยึดเอาในรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นเกณฑ์ ซึ่งตามประวัติศาสตร์ระบุว่ามอญมาอยู่ในจังหวัดปทุมธานีตั้งแต่ พ.ศ. 2317 ปีนี้ก็ครบ 250 ปีพอดี แต่หลังจากปรึกษากับหลายฝ่ายแล้วจึงตกผนึกร่วมกันว่า เนื่องจากวันที่ 28 กรกฎาคม เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ วัดโบสถ์ของทำก่อนเลย โดยขอให้มูลนิธิรามัญรักษ์ โรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี และเครือข่ายมอญในจังหวัดปทุมธานี คุณตุ๊กกี้ จากชมรมรวมใจรักษ์ปทุมธานี ช่วยหานางรำ หาชุดนางรำให้ งานวันนี้จึงออกมาค่อนข้างดี จึงขออนุโมทนากับคนท่าน ทุกชุมชนที่มาร่วมงานวันนี้”
          ในขณะที่ พระปัญญาวุฒิ วุฑฺฒิโก ประธานมูลนิธิรามัญรักษ์ บอกว่า มูลนิธิรามัญรักษ์ ไม่เคยจัดงานใหญ่โดยมีนางรำมากถึง 1,510 คนแบบนี้ วันนี้คนมากันมาก สำหรับนางรำมีคนสมัครมาร่วมอีกหลายชุมชน แต่ทางวัดและคณะเราขอไว้ เนื่องจากสถานที่เราคับแคบ วันนี้จะเห็นว่าคนเต็มสนามเลย ต้องขอบคุณท่านเจ้าคุณต่อศักดิ์ หรือพระราชมหาเจติยาภิบาล ที่ท่านเมตตาให้เกิดงานนี้ งานแบบนี้ต้องใช้ทุนทรัพย์มาก ทั้งค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าชุดนางรำจำนวน 1,500 กว่าชุด ทราบว่าทางวัดออกเองทั้งหมด สำหรับชุมชนหรือท่านใด ผิดหวังไม่ได้มาร่วมถวายพระพรวันนี้ เท่าที่คุยกับท่านเจ้าคุณ ปีหน้าท่านจะจัดแบบนี้อีก และอาจดึงภาครัฐเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันด้วย ซึ่งในฐานะอาตมาเป็นประธานมูลนิธิรามัญรักษ์ ปีหน้าก็ยินดีมาร่วมช่วยท่านแบบนี้อีกเช่นเดิม เพราะถือว่างานแบบนี้เป็นงานที่เราทำอยู่เป็นประจำ ทั้งงานแบบนี้ เป็นงานกระตุ้นให้เกิดพลังกับชุมชนต่าง ๆ ในการนำไปเป็นแบบอย่างในการรักษารากเหง้าวัฒนธรรมตนเองได้
          ด้านนางสาวสุนีย์ สุขประเสริฐชัย แกนนำชมรมรวมใจรักษ์ปทุมธานี กล่าวว่า วันนี้มีคนมาร่วมเกิดคาด หลังจากเปิดรับสมัครข่ายกระจายออกไปมีคนมาขอร่วมรำถวายพระพรชัยกันมาก มาแบบจงรักภักดีจริง ๆ ไม่คิดค่ารถ ไม่คิดค่าชุดอะไรเลย มาเพราะอยากรำถวายพระพร ในส่วนของชมรมรวมใจรักษ์ปทุมธานี มากันทั้งหมดประมาณ 500 กว่าคน มากันครบทั้ง 7 อำเภอในจังหวัดปทุมธานี วันนี้เห็นแล้วชื่นใจ หายเหนื่อย
         สำหรับวัดโบสถ์ (หลวงปู่เทียน) อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี ปัจจุบันมีประชาชนเข้ามากราบสักการะขอพร “หลวงพ่อสมปรารถนา” พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี กันเป็นจำนวน มาก รวมทั้งขอพระจากรูปเหมือน สมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งภายในวัดรักษาการเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระราชมหาเจติยาภิบาล ได้ปรับสถานที่มีลานจอดรถรองรับจำนวนผู้มานับพันคัน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!