สตูล-“ธนาคารปูม้า”20 แห่งประสบผลสำเร็จเตรียมต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยว

สตูล-“ธนาคารปูม้า”20 แห่งประสบผลสำเร็จเตรียมต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และแหล่งท่องเที่ยว

ภาพ-ข่าว;ชิดชนก พุดทอง

               ที่อาคารเอนกประสงค์ อบต.แป-ระ อ.ท่าแพ จ.สตูลมีการจัดเสวนาและนำเสนอผลการดำเนินงานระดับจังหวัดโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของธนาคารปูม้าจ.สตูล ตามแนว ทางการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งธนาคารปูม้าของจ.สตูลนั้นชาวบ้านหลายแห่งตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ปูม้าที่นับวันลดน้อยลง จนกระทั่งในปี 64 ทางทางม.เทคโนโยราชมงคลศรีวิชัยตรัง ได้เข้ามาสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้ธนาคารปูม้ามีความเข้มแข็งยั่งยืนและต่อยอดไปสู่การพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ซึ่งธนาคารปูม้าในจ.สตูลปัจจุบันมีทั้ง หมด 20 แห่ง และกำลังดำเนินการจัดตั้งอีก 20 แห่ง การดำเนินงานทำแบบโรงเพาะฟักชุมชนมีความสะดวกในการบริหารจัดการ เกิดความยั่งยืนและเพิ่มมูลค่า รวมทั้งฟื้นฟูทรัพยากรปุม้าได้อย่างดีอีกด้วย หลังจากมีการเสวนาเสร็จได้ลงไปดูธนาคารปูม้าในพื้นที่บ้านทุ่งริ้น ต.สาคร อ.ท่าแพ จ.สตูลเพื่อดูการดำเนินงานของธนาคารปูม้าดังกล่าว ซึ่งถือเป็นที่แรกที่จัดเป็นศูนย์เรียนรู้ด้วยและได้นำลูกปูม้าจำนวน10ถังลงเรือเพื่อนำไปปล่อยบริเวณปากอ่าวทุ่งริ้น
             ผช.ศาสตราจารย์ ดร ทัศนภา ว่องสนั่นศิลป์ หัวหน้าโครงการ ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.ตรัง กล่าวว่า วันนี้เรามาทำกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งธนาคารปูม้าสตูลตามแนวทางเศรษฐกิจBCG เราหนุนอุปกรณ์ให้ชุมชนและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปูม้า สร้างจิตสำนึกชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า โดยมีกิจกรรม 5 กิจกรรมคือการหนุนอุป กรณ์ การพัฒนาผลิตภัณ์แปรรูปจากปูม้าเช่นขนมเปี๊ยะไส้ปู ปูหยองทรงเครื่องและน้ำปลาหวานมันปู กิจกรรมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงธนาคารปูม้า และกิจกรรมการประชุมระดับจังหวัดและ สร้างศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้า เราเริ่มวิจัยปี64 และเริ่มดำเนินการในปี 65 ปีนี้เราจึงมาต่อยอดเรื่องของผลิตภัณฑ์และเส้นทางท่องเที่ยว และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ที่เหลืออีก 19 ธนาคาร หลังจากที่ทำไปส่งผลต่อปริมาณปูม้าที่มีมากขึ้นและชุมชนให้ความสำคัญหันมาทำธนาคารปูม้ามากขึ้น
             ด้านนางดวงพร ชุมพลาวงศ์ กลุ่มแม่บ้านสตรีประมงต.ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้าซึ่งต่อยอดผลิตภัณฑ์จากธนาคารปูม้าโดยทำ ปูม้าหยองทรงเครื่อง น้ำปลาหวานมันปู ปูม้าคั่วกลิ้งฯลฯกล่าวว่า ต.ขอนคลาน อ.ทุ่งหว้าเริ่มทำธนาคารปูม้าในช่วงวิกฤติโควิด โดยก่อนหน้านี้ทรัพยากรปูม้าลดน้อยลงอย่างมาก แต่หลังจากทำธนาคารปูม้าโดยการรับบริจาคปูม้าไข่นอกกระดอง มาเข้าธนาคาร จากนั้นปล่อยคืนสู่ธรรมชาติปรากฏว่าทำให้ทรัพยากรปูม้าตามธรรมชาติมีมากขึ้น จึงสามารถนำมาต่อยอดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆขึ้นได้ จากตัวชี้วัดของเราพบว่ามีปริมาณปูม้าเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละปีพื้นที่ของเรามีปูม้าไม่ต่ำกว่า 50 ตัน ซึ่งตอนนี้เรากำลังทำประชาคมหมู่บ้านในเรื่องของเครื่องมือจับปูม้า เพื่อให้ทรัพยากรปูม้าในพื้นที่มีอย่างยั่งยืนต่อไป

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!