อุทัยธานี-ผู้ว่าฯลงพื้นที่ติดตามแก้ปัญหาภัยแล้ง..!!
ภาพ-ข่าว:วราภรณ์ จันทรังษ์
ผู้ว่าฯ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภคให้มีน้ำไปอีกตลอดระยะ 10 เดือนข้างหน้า หลังมีน้ำเหนือจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลบ่าเข้าคองสะแกกรัง โดยเร่งสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากสถานีสูบน้ำบ้านตจักษา พร้อมเตือนให้เกษตรกรงดการทำนา ให้หันมาปลูกพืชที่ใช้นำน้อยแทน
ที่จังหวัดอุทัยธานี สถาการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ยังประสบภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้ ( 5 ก.ย. ) นายธีรพัฒน์ คัชมาตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี พร้อมด้วยนายอลงกรต วรกี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี นายอนุชา พัสถาน ปลัดจังหวัดอุทัยธานี โครงการชลประทานอุทัยธานี ป้องกันและบรรเทาสาธารภัยจังหวัดอุทัยธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้ลงพื้ที่ติดตาม เพื่อหาแนวทางแก้ไขในระยาวต่อไป โดยได้ลงพื้นที่ไปที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านจักษา ตำบลสะแกกรัง และพื้นที่รับน้ำตำบลหนองไผ่แบน ตำบลเนเหล็ก ตำบลหนองเต่า อำเภอเมือง และพื้นที่โครงการแก้มลิงเหนือเขื่อนวังร่มเกล้าในพื้นที่ตำบลเขาขี้ฝอย ตำบลหนองหญ้า ปล้อง อำเภอทัพทัน เพื่องเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญาเป็นการเฉพาะหน้า และแก้ปัญหารในระยะยาว ต่อไป
นายธีรพัฒน์ คัชมาตร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี กล่าวว่า ขณะนี้ทางตอนเหนือของประเทศเรา มีฝนตกและมีน้ำไหลหลากมาค่อนข้างเยอะ ประกอบกับมีการไหลผ่านมาตามแม่น้ำต่างๆสายหลักของประเทศทั้งแม่น้ํา4 สาย ซึ่งทั้งหมดนั้นก็จะผ่านเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอุทัยธานีด้วย วันนี้ทางจังหวัดจําเป็นที่จะต้องวางแผนกันล่วงหน้า ซึ่งจากสภาพอากาศปีนี้ที่ผ่านมานั้นค่อนข้างแล้ง ในปีหน้าเราคาดการณ์ว่าโอกาสที่จะเป็นลักษณะเหมือนปีนี้เช่นกัน เพื่อเป็นการเตรียมการ เพื่อไม่ให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนในปีหน้า จึงได้มีการประสานงานกับชลประทานพื้นที่ในเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมถึงกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จําเป็นต้องดูแลพี่น้องประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมกันบริหารจัดการน้ำ ในลักษณะของการสูบน้ำของชลประทาน เพื่อที่จะให้พี่น้องประชาชนหรือ อบต.นั้น เอาไปเก็บไว้สําหรับอุปโภคบริโภคในปีหน้าได้ทั้งหมดกี่เดือน ซึ่งเราพยายามที่จะดึงน้ำทั้งหมดที่เรามี จากที่น้ำจะผ่านเราให้ได้มากที่สุด โดยเราดึงน้ำกระจายตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อนําไปใช้อุปโภคบริโภคในระยะเวลาทั้งหมด 10 เดือนถึงปีหน้า
ซึ่งเราก็พยายามเน้นย้ำให้กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายก อบต.นายกเทศมนตรีต่างๆ รวมถึงกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ช่วยประชาสัมพันธ์ บอกต่อพี่น้องประชาชน ในการช่วยกันกักเก็บน้ำที่ได้มานี้กันให้ได้มากที่สุด อย่างเช่นการ ผันน้ำนี้เข้าไปเก็บในสระน้ำส่วนตัวของตัวเอง รวมไปถึงสระน้ำสาธารณะ ทุกสระที่มีความพร่องน้ำอยู่ให้เต็ม ซึ่งเราจะใช้เวลาในการสูบน้ำจากแม่น้ำเข้ามาจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม นี้ ซึ่งจะพอช่วยเป็นการบรรเทา และเป็นการวางแผนในอนาคตให้พี่น้องประชาชนนั้น เดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องของน้ำอุปโภคบริโภคได้ไม่มากก็น้อย รวมถึงสรรพกําลังต่างๆของจังหวัด ของทุกกรมที่มีส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน และตัวจังหวัดเอง ตลอดจนพื้นที่ท้องถิ่นท้องที่ ซึ่งเราต้องลงไปช่วยกัน เพื่อเป็นการบรรเทาความ เดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน เนื่องจากว่า พื้นที่นาข้าวที่จํากัด สามารถที่จะนําไปใช้ ซึ่งเราก็พยายามที่จะประชาสัมพันธ์ ไม่ให้พื้นที่เกษตรนั้นใช้จํานวนน้ำเยอะ
โดยจะมีการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องของการปลูกพืชที่ใช้น้ําน้อย เพราะน้ำที่เราสูบในครั้งนี้ เพื่อไปใช้น้ำอุปโภคบริโภค ในปีหน้า ซึ่งเราก็คาดว่าจะใช้น้ำได้ประมาณ 10 เดือน จนถึงฝนหน้า ซึ่งตรงนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจาก พี่น้องประชาชนให้ช่วยกันแบ่งน้ำกันใช้ให้ไปจนถึงปลายน้ำ ในส่วนของชลประทานเอง เราก็ได้มีการพูดคุยกันแล้วว่า ชลประทานก็จะขออนุมัติในการที่จะสูบน้ำ เดินเครื่องสูบนำขนาดใหญ่ สูบน้ำจากแม่น้ำ ดึงน้ำเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของน้ำอุปโภค บริโภคที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ด้วยเช่นกัน ส่วนในอนาคตหากมีปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำที่สถานีสูบน้ำไฟฟ้าบ้านจักษา ตำบลสะแกกรัง จะมีการสูบน้ำผ่านท่อขนาดใหญ่ที่มีการดำเนการเสร็จแล้วเข้าไปเติมในโครงการแก้มลิงพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ เหนือเขื่อนวังร่มเกล้าซึ่งจะสามารถเก็บกักน้ำได้เกือบ 30 ล้านลูกบาศก์เมตรเพื่อใช้ในการเกษตรและอุปโภค บริโภค กับพื้นที่เหนือเขื่อนในอำเภอทัพทัน และพื้นที่ท้ายเขื่อนในพื้นที่อำเภอเมืองได้ ต่อไป