สุพรรณบุรี-โครงการขับเคลื่อนสุพรรณบุรีสู่เมืองแห่งข้าวคาร์บอนต่ำ

สุพรรณบุรี-โครงการขับเคลื่อนสุพรรณบุรีสู่เมืองแห่งข้าวคาร์บอนต่ำ

ภาพ/ข่าว:มงคล / รัตนา / พงศกร สว่าวศรี / นพดล แก้วเรือง 

          นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการขับเคลื่อนสุพรรณบุรีสู่ “เมืองแห่งข้าวคาร์บอนต่ำ”และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการขับเคลื่อนสุพรรณบุรีสู่ “เมืองแห่งข้าวคาร์บอนต่ำ”จัดโดยสภาเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี สมาคมเกษตรปลอดภัย และบริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ณ สมาคมเกษตรปลอดภัย ต.หนองราชวัตร อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี มีผู้เข้าร่วมงานหลายหน่วยงาน ประกอบด้วยสมาชิกสภาเกษตรกรและพี่น้องเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี ยังได้รับเกียรติจากผู้เข้าร่วมงานที่มาจากส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี องค์กร รองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ตัวแทนของสภาเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี หน่วยงานภา ส่วนกลาง สถาบันการศึกษา ภาคีเครือข่ายภาคเอกชน ภาคประชาชน ประมาณ 200 คน ซึ่งมีสภาเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี โดยคุณสุพรรณณี คุณพันธ์ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี นายสงบ สุขสำราญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี สมาคมเกษตรปลอดภัย โดยนายสุกรรณ์ สังข์วรรณะ นายกสมาคมเกษตรปลอดภัย และรองศาสตราจารย์ ดร.อรปภา ชุติกรทวีสิน อุปนายก บริษัท เวฟ บีซีจี นาย เจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายกิจชาญพิชญ์ สุกังวานวิทย์ กรรมบริหาร นายสมิท เหลี่ยมมณี ผู้อำนวยการโครงการฯ ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากการทำนาในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีพื้นที่การทำนากว่า 1 ล้านไร่ ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน และมุ่งเป้าให้พี่น้องเกษตรกรได้รับประโยชน์โดยตรง ทั้งสามฝ่ายจึงจัดทำโครงการชับเคลื่อนสุพรรณบุรีสู่ เมืองแห่งข้าวคาร์บอนต่ำ
          โดยมีวัตถุประสงค์ข้อแรกคือ เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก่ชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี เขตชลประทานและนอกสุพรรณบุรี ข้อ 2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำที่เหมาะสมกั เขตชลประทาน และ ข้อ 3. เพื่อสร้างรายได้เสริมจากการขายคาร์บอนเครดิดแก่ชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรีที่เข้าร่วม โครงการฯ ในกลุ่มพื้นที่นำร่อง จำนวนประมาณ 3,000 ไร่ อัตราไร่ละ 200 บาทต่อรอบการผลิตฤดูข้าวนาปรังปีนี้และผลลัพธ์ของการจัดงานวันนี้ พี่น้องชาวนาของจังหวัดสุพรรณบุรีให้ความสนใจและยื่นใบสมัครเข้าร่วม โครงการฯ จำนวนกว่า 5,000 ไร่ เกินกว่าจำนวนพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้จะได้ หอปรังปีนี้หารือเพื่อขยายการรับซื้อคาร์บอนเครดิตต่อไป
          ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรีได้รับความรู้เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเพาะปลูกข้าว 2. ชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรีในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการ ถ่ายทอดความและวิธีการเพาะปลูกข้าวคาร์บอนต่ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ 3. ชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรีที่สมัครเข้าโครงการฯ และปบัติตามกระบวนการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำ จะได้รับเงินสนับสนุนในอัตราไร่ละ 200 บาท. 4. ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นจังหวัดต้นแบบที่ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการทำนาลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะส่งผลดีต่อไปยังภาพรวมของประเทศ

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!