บุรีรัมย์-เดินหน้าตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีสมาชิกสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานที่ได้รับผลกระทบโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง

บุรีรัมย์-เดินหน้าตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีสมาชิกสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานที่ได้รับผลกระทบโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน

          เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 19 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมพนมรุ้ง ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ นายจำเริญ แหวนเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานการประชุมตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีสมาชิกสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานที่ได้รับผลกระทบ โครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง จังหวัดบุรีรัมย์ กรณีสมาชิกสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานที่ได้รับผลกระทบจากโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามคำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาเกษตรกรภาคอีสานและสมาพันธ์เกษตรกรอีสาน ที่ 8/2566 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ในการประชุมครั้งที่ 1/2567 โดยมี รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน อัยการจังหวัดบุรีรัมย์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 ปฏิรูปที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดบุรีรัมย์ นายอำเภอที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายศักดา กาญจนเสน ประธานสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน นายประชา ศรีบุญเรือง แกนนำเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบ เข้าร่วมประชุม
          นายจำเริญ แหวนเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า คณะทำงานดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแปลงที่ดินกรณีสมาชิกเกษตรกรภาคอีสาน ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง ท้องที่อำเภอสตึกและอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยประวัติความเป็นมาโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโครงการชลประทานขนาดกลาง ในปี พ.ศ.2499 ราษฎรในพื้นที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างทำนบดินกั้นดินลำตะโคงขึ้น เพื่อใช้เอง โดยใช้งบประมาณของราษฎรเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง พอถึงฤดูฝนทำนบที่กั้นไว้เกิดพังทลาย จนกระทั่งปี พ.ศ.2510 ได้มีหน่วยงานกรมส่งเสริมสหกรณ์มาทำการสำรวจ ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างฝ่ายน้ำลันคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 1 ช่องน้ำ และก่อสร้างคันดินฝ่ายขนาดใหญ่ โดยเริ่มต้นจากบ้านหัวฝาย (ตำบลดงพลอง อำเภอสตึก ถึงบ้านหัวช้าง ตำบลสตึก อำเภอสตึก ในขณะนั้น) ต่อมาปี พ.ศ.2518 กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินการซ่อมแซมฝ่ายในส่วนที่ชำรุดและได้ดำเนินการออกแบบฝายน้ำล้นใหม่รูปทรงเหมือนเกือกม้า มีสะพาน คสล.ข้ามได้จำนวน 1 ช่อง ทั้งสองช่องเป็นแบบฝ่ายน้ำล้นแบบเปิดจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ.2544 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์ ถ่ายโอนฝายน้ำล้นแห่งนี้ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย กิ่งอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายได้มีการประชุมแก้ไขปัญหาอ่างเก็บน้ำลำตะโคง และเห็นสมควรส่งมอบโครงการฝ่ายน้ำลันลำตะโคงแห่งนี้ ให้แก่โครงการชลประทานบุรีรัมย์เป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการต่อไป แต่ทางราชการไม่มีการดำเนินการให้มีการ ช่วยเหลือ เยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
          นายจำเริญ แหวนเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีแปลงที่ดินของราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากได้รับผลกระทบจาก โครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย ท้องที่อำเภอสตึก จำนวน 14 แปลง (9 ราย) ได้แก่ ประเภทที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำนวน 11 แปลง (6 ราย) รวมเนื้อที่ 101-2-75.80 ไร่ และแบบแจ้งการครอบครอง จำนวน 1 แปลง (3 ราย) รวมเนื้อที่ 36 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด 137-2- 75.80 ไร่ ประเภทที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จำนวน 2 แปลง (2 ราย) รวมเนื้อที่ 13-2-00 ไร่ สำหรับท้องที่อำเภอแคนดง จำนวน 15 แปลง (15 ราย) ได้แก่ ประเภทที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โฉนดที่ดินและหนังสือรับการทำประโยชน์ จำนวน 6 แปลง (6 ราย) รวมเนื้อที่ 73-0-86 ไร่ ประเภทที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จำนวน 9 แปลง (9 ราย) รวมเนื้อที่ 193 ไร่ ที่ประชุม เห็นชอบให้มีการตรวจสอบแปลงที่ดินตามบัญชีรายซื่อคำขอ/คำร้อง ของสมาชิกสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน เพื่อตรวจสอบว่าแปลงที่ดินของราษฎรดังกล่าวอยู่ในเขตการก่อสร้างโครงการฯมีจำนวนเท่าใด เนื้อที่ ทั้งหมดเท่าใด สมควรดำเนินการตามหลักเกณฑ์แนวทางหนังสือกรมที่ดินที่ มท 0514.2/ 10660 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 โดย กรณีผู้ได้รับผลกระทบที่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ ดินประเภทโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ท้องที่อำเภอสตึก ประเภทที่ดินที่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำนวน 11 แปลง (6 ราย) รวมเนื้อที่ 101-2-75.80 ไร่ และท้องที่อำเภอแคนดง ประเภทที่ดินที่ มีหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดิน โฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำนวน 6 แปลง(6 ราย) รวมเนื้อที่ 73-0-86 ไร่ เห็นควรให้เจ้าของที่ดินยื่นคำขอสอบเขตโฉนดที่ดิน หรือขอตรวจสอบเนื้อที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ตามระเบียบฯ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับกรณีผู้ได้รับผลกระทบมีหลักฐานแบบเจ้าของการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1) เห็นควรให้ผู้มีสิทธิในที่ดินยื่นคำขอออกโฉนดที่ดินกับทางสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สาขาสตึก ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อจะได้เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สอบสวนสิทธิตามระเบียบกฎหมายและ กรณีผู้ได้รับผลกระทบไม่มีหลักฐานทางที่ดินเห็นควรให้ดำเนินการตาม 9 ขั้นตอนของกรมชลประทาน ขอให้กรมชลประทาน (โดยสำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา)จัดส่งแผนที่ กันเขต โครงการอ่างเก็บน้ำลำตะโคง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาของคณะทำงานต่อไป

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!