ตราด-เปิดตัว TRAT WELLNESS AND SAFETY TOURISM (TSWT) 46 รายเที่ยวตราดปลอดภัย ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ภาพ/ข่าว:พูลศักดิ์ บุญลอย / ศิวพงศ์ บุญลอย
วันนี้ (29 ก.พ.67) ที่ห้องประชุมโรงแรมตราดซิตี้ นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผวจ.ตราด เป็นประธาน ในพิธีเปิดตัว TRAT WELLNESS AND SAFETY TOURISM (TSWT)จำนวน 46 ราย และ พิธีมอบใบประกาศนียบัตรมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยวต่างๆ ที่คำนึงถึงสุขภาพที่ดี และความปลอดภัยควบคู่กัน เพื่อเป็นการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยว คณะกรรมการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตราด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตราด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ได้ดำเนินการจัดเวทีชี้แจงให้ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวจังหวัดตราด ให้ทราบถึงเทรนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความปลอดภัย และดำเนินการตรวจประเมินสถานประกอบการที่มีความประสงค์เข้ารับการประเมินมาตรฐาน ฯ และเป็นที่มา ของการจัดงานในวันนี้ วันที่จังหวัดตราดจะก้าวสู่การเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและ ความปลอดภัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยผ่านการขับเคลื่อนโดย Soft Power ของจังหวัดตราด ดึงดูด
นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวศักยภาพสูงให้เดินทางเข้ามาในจังหวัดตราดเพิ่มมากขึ้น
วันนี้ รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ประธานกฎบัตรสุขภาพ กฎบัตรไทย หัวข้อ International Trend of Wellness Tourism (แนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในต่างประเทศ) ดร. นพัฐกานต์ เกิดแสง สมาคมการส่งเสริมสุขภาพไทย (Thai Wellness Association) หัวข้อ แนวทางการพัฒนา และสร้างความร่วมมือในการดำเนินงานการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งจากข้อมูลสถิติของ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า จังหวัดตราดมีรายได้จากท่องเที่ยวในปี 2566 มากถึง 19.7 ล้านบาท ซึ่งการเปิดตัวการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดในอีก 1 มิติ ที่เป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความปลอดภัย จะทำให้จังหวัดตราดสามารถดึงเอานักท่องเที่ยวสายรักสุขภาพมาเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดอีกทางนึง โดยชูจุดแข็ง และจุดขาย Soft Power ของจังหวัดตราด อาทิ วิถีบำบัดด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ (Nature Therapy, Waterfall Bath Therapy, Forest Bath Therapy) กิจกรรมทางน้ำพายซัพ คายัค ดำน้ำ เดินป่า ก็เป็นการบำบัดร่างกาย จิตใจ (Mind – body & Soul Therapy) ด้วยการสัมผัสกับสุขภาพ อาหาร อาหารถิ่น ผลไม้ GI ทุเรียนชะนีเกาะช้าง สับปะรดตราดสีทอง ปลาย่ำสวาท การทำความสะอาดร่างกาย ด้วยอาหาร (Detoxification Therapy) อาหารเป็นยา (Food Therapy) – การท่องเที่ยวชุมชน (Friendship from Community) การเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ที่จะสร้างความประทับใจและเกิดมิตรภาพที่ดี และเกิดการบอกต่อเรื่องราวต่าง ๆ สู่โลกออนไลน์ เป็นต้น
รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ประธานกฎบัตรสุขภาพ กฎบัตรไทย บอกว่า WELLNESS AND SAFETY TOURISM (TSWT)เป็นการให้ความสำคัญกับสุขภาพ จากเดิมเป็นภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่นำสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพ กลับมาใช้ในปัจจุบัน ให้อาหารเป็นยา รักษาสิ่งแวดล้อม ความสะอาด ความปลอดภัยนำไปสู่การท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติสนใ หลงใหล และมาท่องเที่ยวช่วงลองเสตย์กันจนแทบแน่นเมืองตราดดังกล่าว