ประจวบคีรีขันธ์-ศิษยานุศิษย์วัดหนองจอกลงนะหน้าทองแห่จอง ”มีดหมอ” หลวงพ่อกุ้งลงเสก 28 มี.ค.67
ภาพ/ข่าว:เอกภพ วงษ์ประเสริฐ
วันที่ 20 มี.ค.67 ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่วัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังทราบเรื่องรางจากชาวบ้านและศิษยานุศิษย์ที่กล่าวถึงจริยวัตรอันหน้าเลื่อมใสของพระครูวีรศาสน์สุนทร ญาณคุตโต หรือพระอาจารย์กุ้งเจ้าอาวาสวัดหนองจอกองค์ปัจจุบัน หรือหลวงพ่อกุ้งที่ชาวบ้านและลูกศิษย์เคารพศรัทธาต่างเดินทางมาให้หลวงพ่อลงนะหน้าทองเจิมหน้าผากกันอย่างไม่ขาดสาย พร้อมสั่งจอง”มีดหมอ”ที่หลวงพ่อจัดสร้างจากมวลสารทั่ง 9 ชนิด ทราบว่าหลวงพ่อยิดอดีตเจ้าอาวาสองค์แรกทิ้งไว้ให้หลวงพ่อกุ้งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้นำไปใช้ หากจำเป็นต้องนำออกมาเป็นชนวนสร้างวัตถุมงคล เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาได้บูชาต่อไป ต่อมาหลวงพ่อกุ้งจึงนำมวลสารทั้ง 9 ชนิด ไปเป็นชนวนหล่อเป็นมีดหมอ โดยมีวัตถุประสงให้ผู้ที่สนใจร่วมทำบุญกับวัดสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ให้ประดิษฐานไว้ที่วัด หลังมีการเททองหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อยิดองค์ใหญ่ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมานั้น เนื่องจากทางวัดยังขาดปัจจัยบางส่วนในการดำเนินงานต่อ
ผู้สื่อข่าวสอบถามชาวบ้านและลูกศิษที่ศรัทธา ถึงเรื่องราวความเป็นมาของการจัดสร้างวัตถุมงคลเอาไว้ให้ผู้ที่ศรัทธาสนใจทำบุญวัด โดยวัตถุมงคลนี้มีชื่อว่า“มีดหมอพิชิตชัย”หมายถึงชัยชนะในทุกๆด้าน ในทางความเชื่อของแต่ระคนเชื่อว่าจะช่วยคุ้มครองป้องกันภยันต์ตราย แคล้วคาดปลอดภัย ทั้งเมตรามหานิยมหากใครมีติดตัวไว้ เนื่องจากทราบว่าหลวงพ่อได้นำมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากหลายแห่งนำไปเป็นชนวนประกอบพิธีพุทธาภิเษกเพื่อหล่อขึ้นรูปเป็นตัวมีด จากนั้นจะนำไปจารอักขระลงบนตัวมีด เพื่อนำไปเข้าพิธีพุทธภิเษกภายในโบสถ์ในวันที่ 28 มี.ค.67อีกครั้ง ก่อนนำออกให้ผู้ที่สนใจและศรัทธานำไปใช้คุ้มครองป้องกันภยันตรายจากภูตผีปีศาจ เป็นสิริมงคลเสริมบารมีเมตรามหานิยมตามความเชื่อ
โดยหลวงพ่อกุ้งท่านอธิบายให้ศิษยานุศิษย์ฟังว่า ชนวนที่นำมาร่วมในการหลอมเป็นมีดหมอ”พิชิตชัย”มีโลหะทั้ง 9 อย่างนั้น ประกอบด้วย เหล็กน้ำพรี้,ตะปูสังควานร,เร่เหล็กไหล,เงินพดด้วง,แผ่นสัตโลหะ,,ชนวนรูปหล่อหลวงพ่อยิด,เหล็กยอดเจดีย์,แร่ทองแดง,แผ่นยันต์ตะกรุดมหาระงับ และแผ่นยันต์ตะกรุดหลวงพ่อสุดวัดกาหลงเป็นต้น ซึ่งมวลสารทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งหลวงพ่อยิดท่านได้เก็บเอาไว้เมื่อครั้งยังเป็นเจ้าอาวาสวัดฯ ทางพระอาจารย์เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำออกมาเป็นชนวนหล่อมีดหมอ”พิชิตชัย”ในครั้งนี้ หากไครเคยได้ทราบถึงเกียรติศักดิ์ของพลวงพ่อยิดครั้งยังมีชีวิตอยู่ จะทราบว่าทางเป็นพระที่มีจริยวัตรเพียบพร้อม เมตราแก่ทุกคนที่พบเห็น และเชื่อกันว่าท่านเป็นพระปฏิบัติที่มีวีชาอาคมด้านคงกระพันชาตรี และเมตรา หลังจากที่ท่านมรณะภาพลง ทางกรรมการวัดได้เชิญพระอาจารย์ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อไป เนื่องจากทางกรรมการวัดเห็นว่าพระอาจารย์เป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อยิดที่ยังเหลืออยู่
นายสมัชญ์ อำพล อายุ 23 ปี ชาวกุยบุรี เด็กหนุ่มที่มีความเลื่อมใสพลวงพ่อกุ้ง เล่าถึงประสบการณ์ปาฏิหาริย์ที่ได้พบเจอกับตัวเองเมื่อครั้งไปทำงานรับจ้างเฝ้านากุ้งแห่งหนึ่ง ขณะที่ตนอาศัยอยู่ภายในบ้านตามลำพังเพียงคนเดียว ทันใดนั้นได้เกิดเหตุการณ์พายุหมุนพัดเอาสังกระสีหลังคาบ้านหลุดกระจัดกระจาย ด้วยความตกใจจึงวิ่งออกจากตัวบ้านแต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดหลังคาสังกระสีที่ถูกรมพัดกระจัดกระจายปลิวเฉียดหัวตนไปอย่างหวุดหวิด เชื่อว่าบารมีจากเหรียญรุ่นแรกของพระอาจารย์ หรือหลวงพ่อกุ้งที่ตนแขวนทำให้ตนพ้นภัยยันต์ตราย และเรื่องราวอีกหลายเหตุการณ์ที่ตนพบเจอกับตัวเองจึงเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ทั้งหลวงพ่อยังมีเมตราช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกได้ยากมาตลอดหากพลวงพ่อช่วยได้ท่านจะทำทันที ทราบว่าพระอาจารย์กุ้งท่านได้เรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อยิดไว้มาก จนชาวบ้านและลูกศิษย์ได้รู้กิตศักดิ์ ต่างมากราบให้หลวงพ่อช่วยลง นะเมตรานะหน้าทองบนหน้าผากเพื่อเป็นสิริมงคลตามความเชื่อกันอย่างไม่ขาดสาย ทั้งยังขอเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อนำพกติดตัวกลับไปอีก
ทั้งนี้หากผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษก ”มีดหมอพิชิตชัย” ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 ทางวัดเรียนเชิญหากใครมีเครื่องรางของขลังพกติดตัวต้องการเสริมพุทธคุณ เสริมบารมีตามความเชื่อนำมาเข้าพิธีตามวันเวลาดังกล่าวได้ โดยพิธีจะเริ่มตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป ส่วนในวันที่ 1-2-3 เมษายน 2567 ทางวัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เชิญเที่ยวงานประจำปีปิดทองรูปเหมือน พระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวณโณ) โดยภายในงานมีการจัดประกวดวัวไทยสวยงามชิงทองคำและถ้วยรางวัลชนะเลิศ ชมการแสดงของเด็กนักเรียนและรำวงย้อนยุค เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป โดยในวันที่ 3 เมษายน เป็นวันสุดท้ายของการจัดงาน จึงขอเชิญชาวพุทธและประชาชนร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และรูปเหมือนหลวงพ่อยิดองค์ใหญ่ส่วนที่เหลือ ประดิษฐานภายในบริเวณวัดเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและรำลึกถึงองค์หลวงพ่อยิด ส่วนมหรสพชมฟรีตลอดงาน