“อลงกรณ์-สภาอุตสาหกรรมฯ.”ตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy)

“อลงกรณ์-สภาอุตสาหกรรมฯ.”ตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(Blue Economy)

ภาพ-ข่าว:พิสิษฐ์ รื่นเกษม

“หวังสร้างฐานผลิตใหม่23จังหวัดชายทะเลทดแทนการนำเข้าลดคาร์บอนแก้โลกร้อน”

          นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท(WCF:Worldview Climate Foundation)เปิดเผยวันนี้(25 มี.ค)ว่า ประเทศไทยผลิตสาหร่ายน้อยมากต้องพึ่งพานำเข้าสาหร่ายจากต่างประเทศจนติดท็อปเทน ของโลก ในขณะที่มีชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยยาวกว่า3,000 กิโลเมตรใน23จังหวัดจึงมีศักยภาพในการผลิตทดแทนการนำเข้าและยังช่วยลดคาร์บอนด้วย ดังนั้นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) และมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท Worldview Climate Foundation จึงได้ทำเอ็มโอยู.ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาสาหร่ายตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำถือเป็นความร่วมมือที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน(blue economy)ในการใช้ทรัพยากรในทะเลและมหาสมุทรอย่างยั่งยืนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
          ซึ่งในการประชุมล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่สำนักงานใหญ่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.)ได้ข้อสรุปในการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาสาหร่ายพืชแห่งอนาคตทั้งนี้มูลนิธิฯ.ได้เสนอรายชื่อกรรม การและหน่วยงานรัฐเช่นกรมประมง กรมทรัพยากรชายฝั่งทะเลฯลฯเป็นกรรมการเรียบร้อยแล้วส่วนสอท.จะเสนอรายชื่อภายหลังการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสอท.ชุดใหม่วันที่ 25 มีนาคมนี้เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการฯ.ในการขับเคลื่อนความร่วมมือในครั้งนี้ให้เกิดผลสำเร็จโดยเร็ว
           “สาหร่ายถือเป็นพืชแห่งอนาคตตัวใหม่ เนื่องจากอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สามารถผลิตเป็น อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ ปุ๋ยชีวภาพ อาหารสัตว์พลาสติกชีวภาพสำหรับบรรจุภัณฑ์กระดาษ สิ่งทอ สารกระตุ้นทางชีวภาพ (bio stimulants) และน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยตั้งเป้าหมายสร้างงานสร้างรายได้ให้กับ23จังหวัดชายทะเลซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการผลิตสาหร่าย ยิ่งกว่านั้น การพัฒนาอุตสาหกรรมสาหร่ายยังมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 “นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด
             สำหรับการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าประชุมตัวแทนมูลนิธิได้แก่นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานกรรมการมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท,รศ.ดร.สุชาติ นวกวงษ์ กรรมการมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมท ,นางสาวสภาวรรณ พลบุตร,นางสาวณัฐนิชา ผกาแก้ว ผู้ประสานงานมูลนิธิเวิลด์วิว ไคลเมทและนายชนะพล พอสม Advisor, Worldview International Foundation ส่วนผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้แก่ นายเชิญพร เต็งอำนวย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย,นางสาวศุภกาญจน์ พรหมราช ,นางสาวจิราวรรณ เดียขุนทด และนางสาวนฤดี มาทองหลาง จากสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!