นครสวรรค์-ม.ราชภัฏฯเชิญผู้เชี่ยวชาญจัดประชุมวิพากษ์หลักสูตรรัฐศาสตร์บัณฑิต
ภาพ-ข่าว:ชาติชาย เกียรติพิริยะ
ผศ.ดร.วรวิทย์ นพแก้ว หัวหน้าสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เปิดเผยว่า ได้จัดประชุมวิพากษ์หลักสูตรรัฐศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2568 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 โดยมี รศ.ดร.พรรณอร วันทอง เป็นประธานหลักสูตร ณ ห้องประชุมสาขารัฐศาสตร์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การประชุมครั้งนี้ มีคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหลากหลายองค์กร และมีศักยภาพสูง ได้แก่ 1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธัชพล ทีดี ประธานหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติมา อินทะกุล อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์วสันต์ ปวนปั่นวงค์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครเดช พรหมกัลป์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ 5.นายนนทพัฒน์ สิงห์ประยูร ผู้อำนวยการกลุ่มงานป้องกันการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตเขต 6
6.นางสาวหนึ่งนภา ภัทรสรดิลกเลิศ ผู้ประกอบการธุรกิจเอกชน 7.ดร.กฤษณะ ไกรสิงห์ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์ 2 8.นายปิยชาติ อ้นสุวรรณ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวจังหวัดนครสวรรค์ และกรรมการบริหารกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 9.นายวิรัตน์ ศิริกุล ที่ปรึกษาสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และอดีตรองนายกเทศมนตรีตำบลโกรกพระ 10.นายสุเมธ นภาพร อดีตนายกเทศมนตรีตำบลบรรพตพิสัย 11.นายวีระ กิจเฉย เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 12.นายวรพงษ์ บุญกระจ่าง ประธานนักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
ในส่วนขั้นตอนและประเด็นการวิพากย์จะป็นไปตามกระบวนการอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย และสาระสำคัญของการปรับปรุงหลักสูตรได้มีการนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะอย่างรอบด้านเพื่อให้การผลิตบัณฑิตมีคุณภาพและเป็นไปความเป็นไปตามความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง
รศ.ดร.พรรณอร กล่าวว่า “ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ให้ข้อเสนอแนะในการวิพากษ์หลักสูตรในครั้งนี้ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตลอดจนมหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หัวหน้าสาขาวิชารัฐศาสตร์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่ทำให้การปรับปรุงหลักสูตรในวันนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี”