เชียงใหม่-พี่น้องชาติพันธ์ุอาข่าลุ่มน้ำโขง จัดงาน “ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อ่าโผ่ว”
ภาพ-ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดเชียงใหม่
เครือข่ายอาข่าเพื่อสันติภาพลุ่มน้ำโขง จัดงาน ”ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อ่าโผ่ว“ แสดงความกตัญญู ตอบแทนคุณผู้อาวุโสและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ ตามวัฒนธรรมอาข่า ส่งเสริมการเรียนรู้ ฟื้นฟู สืบสานและเผยแพร่อัตลักษณ์ วัฒนธรรมชาติติพันธ์ุอาข่า ให้เด็กและเยาวชนตระหนักในคุณค่าและเกิดการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
วันนี้ (22 เม.ย. 67) ที่พิพิธภัณฑ์เรียนรู้ราษฎรพื้นที่สูง อำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่ นายอนันต์ ดนตรี รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดงานประเพณี “ แสดงความกตัญญู ตอบแทนคุณผู้อาวุโสและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ ตามวัฒนธรรมอาข่า (ขึ่มสึ ขึ่มมี้ อ่าโผ่ว)“ ที่เครือข่ายอาข่าเพื่อสันติภาพลุ่มน้ำโขง จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ฟื้นฟู สืบสานและเผยแพร่อัตลักษณ์และวัฒนธรรมชาติติพันธ์ุอาข่า ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเห็นความสำคัญ ตระหนักในคุณค่าและเกิดการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของอาข่าให้คงอยู่สืบไป
อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและบูรณาการทำงานร่วมกับเครือข่ายชติภัณฑ์ราษฎรบนพื้นที่สูงและองค์กรภาคีเครือข่ายอีกด้วย โดยมี นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กลุ่มชาติติพันธ์อาข่าจากประเทศไทย จีน เมียนมาร์ ลาว และเวียดนาม กว่า 300 คน เข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างคึกคัก
โดยการจัดงานในครั้งนี้เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายอาข่าเพื่อสันติภาพลุ่มน้ำโขง ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองอาข่าในประเทศไทยมากกว่า 30 ชุมชน พิพิธภัณฑ์เรียนรู้ราษฎรบนพื้นที่สูงและองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีรดน้ำดำหัว เพื่อแสดงความกตัญญูตอบแทนคุณผู้อาวุโส และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก ตามวัฒนธรรมอาข่า การปาฐกถาพิเศษ การเสวนาสถานการณ์ของวัฒนธรรมอาข่า ร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และการแสดงศิลปะวัฒนธรรมของชาติพันธ์ุ
ทั้งนี้ นายอนันต์ ดนตรี รองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยึดมั่นในความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องราษฎรบนพื้นที่สูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธภัณฑ์ณที่อาศัยบนพื้นที่สูง รวมถึงประชากรกลุ่มเป้าหมายทางสังคมทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดหลักประกันและความเสมอภาคทางสังคม เกิดความมั่นใจในการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นฐานสวัสดิการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน