สมุทรปราการ-“ทวี”พร้อมคณะ เดินทางไปรับตัว”แป้ง นาโหนด” ที่อินโดนีเซีย กลับรับมาโทษและขยายผลที่ไทย
ภาพ-ข่าว:สุรศักดิ์ / อัญมณี คงสินธ์
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 1 มิถุนายน 2567 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม พร้อมด้วย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทนอธิบดี ดีเอสไอ และ พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ป.ป.ส. ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 14.30 น. ไปกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อประสานแนวทางการตัวนายชวลิต ทองด้วง หรือ แป้ง นาโหนด ในขณะที่ทางการอินโดนีเซีย กำลังนำตัว นายชวลิต จากบาหลีมายังกรุงจาการ์ตา เพื่อทำการสอบสวนในฐานความผิดที่กระทำระหว่างอยู่ที่อินโดนีเซีย ทั้งการใช้บัตรประชาชนปลอม การทำร้ายร่างกายผู้หญิง หรือ คดีที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดหลังจากนำตัวกลับมาแล้ว อาจใช้อำนาจพิจารณารับเป็นคดีพิเศษ และให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องการหลบหนี พร้อมขยายผลหาคนที่ให้การช่วยเหลือนายแป้งในการหลบหนีและกระทำผิดในต่างประเทศ
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ท่านนายกฯ ได้ประสานกับทางกองทัพอากาศ และประสานกับเลขขา ปปส. เราจะใช้เครื่องบินกองทัพอากาศซึ่งความจริงทางการอินโดเขาเริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้ที่จะสามารถไปรับได้ แต่เนื่องจากว่าในขั้นตอนกระบวนการธุรการหรือเส้นทางการบินต้องขออนุญาตจากหน่วยงานของประเทศที่เราผ่านด้วย ความเหมาะสมที่สุดคือวันอังคารก็จะไปรับตัว ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะ ท่านรักษาการ ผบ.ตร. ได้ประสานงานโดยตรงกับท่าน ผบ.ตร.อินโดนิเซีย ซึ่งในครั้งนี้ก็ให้ พลตำรวจโทประจวบ รักษาการ รอง ผบ.ตร. ไปด้วย เพื่อไปอำนวยความสะดวก เนื่องจากในขั้นตอนการธุรการได้จบแล้ว ก็คือจะมีเครื่องบินของ ทอ. ไปรับตัว โดยการรับตัวนั้นก็ให้ทางตำรวจของเราแล้วก็ทราบว่าตำรวจของอินโดนิเซียมาส่งด้วย ที่นี้ในประเทศไทยเรามีกฎหมายเรื่องการทรมารหรือการอุ้มหาย ถือว่าเป็นการจับกุมพอเข้าประเทศไทยต้องมีการบันทึกวีดีโอ การบันทึกขั้นตอนต้องชัดเจน ต้องบันทึกการจับกุมตั้งแต่อินโดนิเซีย เราทำให้ครบตามขั้นตอนกฎหมาย เรามีนัดการประชุมในเรื่องการประสานงานภายในเพราะมันมีขั้นตอนของเอกสารหนังสือด้วย ซึ่งเจ้าหน้าที่ไปเตรียมการไว้แล้ว แล้วก็จะมีการประชุมเรื่องการร่วมมือกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ปปส. ซึ่งได้รับการเดินทางมาจากของอินโดนิเซีย
นอกจากนั้นเป็นความร่วมมือกับตำรวจร่วมถึงเป็นการขอบคุณของทางการอินโดนิเซียโดยเฉพาะ ทางที่เราไปขอการสนับสนุน โดยเฉพาะตำรวจอินโดนิเซีย ไม่ว่าจะเป็นตำรวจท้องถิ่น เกาะเมดาน หรือเกาะบาหลี ได้ทุ้มเททำงาน ซึ่งทราบว่าทางการอินโดนิเซียก็จะพามาพบคณะของเราด้วย ในขั้นตอนถ้าแป้งค้ายาเสพติดก็ต้องดำเนินการคดีในประเทศไทยอยู่แล้ว แม้ในเคสของแป้งจะยังไม่มีหลักฐานแต่ถ้าเราไปอ่านคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีปล้นทรัพย์ มันจะมีเงื่อนไขตรงนั้น ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการตั้งเรื่องสืบสวนอยู่ ตำรวจอินโดนิเซียไม่ยื่นยันว่ากระทำความผิดซึ่งการสืบสวนสอบสวนในอนาคตก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็มีจำนวนมากที่คนร้ายที่กระทำผิดในประเทศอินโดนิเซียก็จะมีการออกหมายจับ เมื่อหนีไปอยู่ในประเทศไหนเราก็ต้องไปตามตัวกับมาดำเนินคดี เป็นการร่วมทางอาญา เมื่อแป้งมาถึงประเทศไทยก็ดำเนินคดีที่ยังสอบสวนอยู่ก็จะมีหมายจับของพัทลุง 3 หมาย แล้วก็หมายจับของนครสีธรรมราช 1 หมาย ก็จะดำเนินคดีในข้อหาหนีที่คุมขัง พยายามฆ่า มีอาวุธปืน ที่ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
ส่วนที่คดีที่ถึงที่สุด คือ การปล้นผู้ต้องหา จากเนื้อหาในสำนวนการขัดแย้งเรื่องยาเสพติด ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ถึงที่สุดแล้ว และอีกหลายคดีที่พยายามฆ่า ในพัทลุงอีกหลายแห่ง ไม่ทราบว่าคดีถึงที่สุดหรือยังแต่ยังไงเขาต้องอยู่ในเรือนจำ ในคดีเก่า ส่วนตำรวจจะสอบสวนก็ต้องมาอายัดตัวหรือสอบสวนในเรือนจำ ในคดีเด็ดขาดจะขังในเรือนจำได้ก็ได้ เราต้องคำนึ่ง 2 เรื่อง ไม่หลบหนี ไม่ออกไปทำร้ายหรือก่อเหตุ ซึ่งเรือนจำเป็นเรื่องใหญ่ต้องไม่ให้หลบหนี ซึ่งในเรือนจำเราก็มีลักษณะความมั่นคงสูงที่จะใช้ ซึ่งมีประมาณ 5-6 แห่ง พอมาแป้งมาถึงจะมีตำรวจมารับ ซึ่งทราบว่า พลตำรวจประจวบ กับคณะอาจจะมีชุดของนวยงานอื่นบ้างที่ไป พอรับตัวมาถึงเมืองไทย ก็เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเจ้าพนักงานสืบสวนก็จะมาแจ้งข้อหา หลังจากนั้นทางเรือนจำก็จะเอาไปควบคุม ซึ่งในเบื้องต้นตัวท่านอธิบดีราชทันสามารถควบคุมที่ไหนก็ได้ ในทางปฏิบัตินั้นเราจะควบคุมในท้องที่เกิดเหตุ เพราะว่าเวลาเอาตัวไปศาลฝากขังได้ง่าย แต่ในปัจจุบันนั้น เรามีทางออนไลน์ ก็จะมีความสะดวกมากขึ้น เบื้องต้นจะฝากขังในเรือนจำไว้ในกรุงเทพ เรือนจำบางขว้าง เรือนจำคลองเปรม ตำรวจเข้าไปสอบในเรือนจำได้