อุบลราชธานี-ภาคภูมิใจบ้านบัวงาม สืบสานอนุรักษ์ผ้าทอมือ สร้างรายได้ให้ชุมชน
ภาพ/ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 27 มิถุนายน 2567 ที่ศาลาประชาคมหมู่บ้านบัวงาม ต.บัวงาม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสืบสานอนุรักษ์ ผ้าทอมือบ้านบัวงาม ซึ่งกลุ่มทอตัดเย็บบ้านบัวงาม ได้จับมือกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเกอเดชอุดม เทศบาลตำบลบัวงาม โรงเรียนบ้านบัวงามและคณะกำนันผู้ใหญ่บ้านจัดขึ้น เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่า ให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและให้ชาวโลกได้ชื่นชม อีกทั้งเพื่อเชิดชูอัตลักษณ์ คุณค่าผ้าท้องถิ่นให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วไปทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรี ในท้องถิ่น โดยจะมีการรณรงค์ให้คนในพื้นที่ ร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าไทย ไม่ว่าจะเป็นผ้าฝ้าย ผ้าไหม ที่มีกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรีกว่า 90% มีรายได้ที่เกิดจากการทอผ้าออกจำหน่าย สามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง อีกทั้งเป็นการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลบัวงาม กำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลบัวงาม สถานศึกษาและประชาชนบ้านบัวงาม
ในโอกาสเดียวกันนี้ นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ยังได้ร่วมกิจกรรมไลฟ์สดขายผ้าฯ ผ่านทางออนไลน์ และกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กลุ่มทอตัดเย็บบ้านบัวงามเป็นกลุ่มที่ตั้งมานาน มีกิจกรรมทอผ้า ย้อมผ้า ตัดเย็บ และมีเครือข่ายในระดับตำบล ซึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการสร้างานสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่น โครงการนี้ เป็นโครงการที่ดี เพราะเป็นการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติ ให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมีใจของคนไทยและให้ชาวโลกได้ชื่นชม อีกทั้งเพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วไปทั่วประเทศ และยังสนับสนุนส่งเสริมการสร้างานสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่น โดยจะมีการรณรงค์ให้คนในพื้นที่ ร่วมมือร่วมใจกันใส่ผ้าทอไทย ไม่ว่าจะเป็นผ้าฝ้าย ผ้าไหม เพื่อช่วยกันสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งการใส่ผ้าทอไทยทุกผืน ก่อให้เกิดรายได้กระจายไปยังชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรีกว่า 90% รายได้ที่เกิดจากการทอผ้าออกจำหน่ายจะสามารถช่วยสตรียกระดับคุณภาพชีวิตส่งบุตรหลานให้มีโอกาสเล่าเรียน ดูแลครอบครัวได้เมื่อยามเจ็บป่วย สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งต่อไป