ร้อยเอ็ด-ราชเลขาฯตรวจติดตาม โครงการพระราชดำริ..จัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง

ร้อยเอ็ด-ราชเลขาฯตรวจติดตาม โครงการพระราชดำริ..จัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง

ภาพ-ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน

                เมื่อเวลา 11.10 น.วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและคณะ โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ กระหรวงมหาดไทย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและนายชูศักดิ์ ราชบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล หัวหน้าส่วนราชการ ร่วมให้ข้อมูลการดำเนินงาน
                 นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ขอกราบขอบพระคุณท่านราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมทรัพยากรน้ำบาดาลน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเพื่อเป็นการสนองพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด จึงได้ดำเนินการโครงการ สำรวจศักยภาพน้ำบาดาลในพื้นที่หาน้ำยากโดยศึกษาอุทกธรณีวิทยาใต้ผิวดินด้วยวิธีทางธรณีฟิสิกส์ กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่น่าสนใจดำเนินการเจาะสำรวจ วิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาล สูบทดสอบ, พบว่า พื้นที่บ้านโคกล่าม หมู่ 2 ตำบลโคกล่าม อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด มีความเหมาะสม , จึงต่อยอดโครงการพัฒนาให้เป็นโครงการน้ำบาดาลขนาดใหญ่สภาพปัญหาในพื้นที่
                เนื่องจากสภาพดินที่เป็นดินทราย ซึ่งมีคุณสมบัติน้ำไหลซึมผ่านอย่างรวดเร็ว เก็บกักน้ำไม่อยู่ ทำให้ในฤดูแล้งประสบปัญหาน้ำผิวดินแห้งขอด กอรปกับสภาพอากาศที่ร้อนเป็นตัวเร่งการระเหยของน้ำ ส่งผลให้พื้นที่นี้ในฤดูแล้งมีความวิกฤตเรื่องน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนทางเทศบาลแก้ไขปัญหาโดยการขอรับน้ำจากพื้นที่อื่น เพื่อมาบรรเทาความเดือดร้อน และต้องจ่ายเงินค่าบรรทุกน้ำ เพื่อมาแจกจ่ายหลายล้านบาทต่อปีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สำรวจธรณีฟิสิกส์ 20 จุด เพื่อหาตำแหน่งที่มีรอยแตกในชั้นหินทราย เจาะบ่อสำรวจ 4 บ่อ พัฒนาน้ำบาดาลในชั้นหินทรายที่ความลึก 62 – 87 เมตร สูบทดสอบได้ปริมาณน้ำ 8- 14 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง นำไปสู่การออกแบบด้านวิศวกรรมที่คำนึงถึงศักยภาพของน้ำบาดาล ที่ตั้งโครงการ และความต้องการการใช้น้ำของประชาชน โดยมีองค์ประกอบดังนี้ พื้นที่บ้านโคกล่าม แห่งนี้ เป็นโครงการใบระยะที่ 3 ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลอยู่ระหว่างการขอจัดสรรงบประมาณดำเนินการ ซึ่งก่อนได้รับโครงการ ขาวบ้าน มีความเดือดร้อน ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาด สำหรับการอุปโภคบริโภคในหลายหมู่บ้าน น้ำมีสภาพเป็นหินปูน มีความกระด้างสูงและบางส่วนเป็นเกลือมีความเค็ม มีปริมาณน้ำผิวดินไม่เพียงพอ และมีปัญหาคุณภาพไม่ดี
               โดยปัจจุบัน กรมฯ ได้ดำเนินการเจาะบ่อสำรวจไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 4 บ่อ ความลึกเฉลี่ย 100 เมตร และได้น้ำปริมาณมาก ประมาณ 10-15 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงต่อบ่อ ซึ่งในโครงการฯ ตั้งเป้หมายเจาะบ่อเพิ่มอีก 6 บ่อ รวมทั้งสิ้น 10 บ่อ ทำการสูบสลับ และจะมีการเจาะบ่อสังเกตการณ์อีก 2 บ่อ เพื่อเฝ้าระวังน้ำบาดาลให้มีความยั่งยืน ใช้ได้ตลอดไป ซึ่งน้ำจากบ่อบาตาลจะถูกสูบเข้าถังเก็บน้ำขนาด 150 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง และหอถังสูงรักษาแรงดัน ขนาด 300 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 ถัง พร้อมเดินท่ออีกไม่ต่ำกว่า 2.3 กิโลเมตร หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อนสำหรับในโครงการจำนวนไม่น้อยกว่า 14 หมู่บ้าน 635 ครัวเรือน ประชากร 2,540 คน หรือคิดเป็นปริมาณน้ำไม่น้อยกว่า 230,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อกรมฯ ดำเนินการเจาะบ่อบาดาลและก่อสร้างแล้วเสร็จ ชาวบ้านในพื้นที่ก็จะดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ ประกอบด้วยชาวบ้านทั้ง 14 หมู่ และผู้แทนกรมฯ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการฯในลำดับต่อไป หลังจากนั้นพลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และคณะ ได้สำรวจพื้นที่โครงการฯ พร้อมให้กำลังใจในการทำงานในการดูแลประชาชน ต่อไป

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!