ชลบุรี-ผู้ช่วยฯทูต กลับถิ่นสานสัมพันธ์ทัพเรือไทยมาเลเซีย แน่นแฟ้น
ภาพ-ข่าว:นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี
คณะผู้แทน ทร. โดยมี พล.ร.ต.เทพฤทธิ์ ลาภเหลือ ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ อดีตผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย และกำลังพล กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ 2 นาย กรมการสื่อสารและสารสนเทศทหารเรือ 1 นาย กรมยุทธการทหารเรือ 2 นาย เดินทางไปร่วมประชุม Navy to Navy Talks ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้น ณ กองบัญชาการกองเรือดำน้ำ รัฐซาบาร์ ก.บอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย
ผลการประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้ง 2 ฝ่าย เห็นสอดคล้องที่จะเสนอเพื่ออนุมัติในการแลกเปลี่ยนการศึกษาและการฝึกตามแผน การเยี่ยมเยือนและจัดกิจกรรมของ ผู้บังคับบัญชา ประจำปี (golf top ten) ตามที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ทร.มาเลเซียยังได้เปิดให้เยี่ยมชม กองเรือดำน้ำ และหน่วยบิน UAV (SCAN EAGLE) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ตามโครงการ MSI (Maritime Security Initiative) ที่ได้เคยหารือไว้จากการประชุมครั้งที่ผ่านๆ มา สรุปการดูงาน ประกอบด้วย การเยี่ยมชมกองเรือดำน้ำ จัดให้ชมทั้งหมดประกอบ อาทิ กองบัญชาการ โรงงานซ่อมเรอดำน้ำ (ด.) และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด อาคารฝึกกำลังพล เครื่องฝึก simulator การดำ ห้องฝึกซ่อมบำรุงเครื่องกล ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ห้องฝึกการนำเรือ ห้องฝึก ศูนย์ยุทธการ อาคารฝึกการช่วยเหลือกำลังพล ด. Submarine escape เครื่องฝึกป้องกันความเสียหาย
โดยมีข้อมูลที่สำคัญคือ ขณะนี้ ทร.มาเลเซีย สามารถฝึกกำลังพล และซ่อมบำรุง ด. ได้เองทั้งหมดเกือบ100% โดยในระยะแรกสร้างอู่ โดยใช้เงินรัฐบาลและจ้างบริษัทฝรั่งเศส ดำเนินการซ่อมบำรุง แล้วค่อยๆ สร้างบริษัท ของมาเลเซียมาทดแทน จนในปัจจุบัน บริษัท ของมาเลเซียทดแทนได้ทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 10 ปี มีเพียงการ refit โปรแกรมทุก 7 ปี ที่ยังต้องมี บริษัท ฝรั่งเศสช่วยบางส่วน โครงสร้างกำลังพลกองเรือ ด. ประมาณ 200 กว่านาย อู่บริษัท เอกชน 200-300 นาย
ปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องกำลังพล ที่ฝึกไม่ผ่าน หาคนมาอยู่เรือ ด. ยาก ตามนิสัยมีครอบครัวใหญ่และรักครอบครัวของคนมาเลเซีย และต้องมาอยู่ เกาะบอร์เนียว ที่ไกลบ้าน การเยี่ยมชมหน่วยบิน UAV – scan eagle นั้น ได้จัดให้ชม อุปกรณ์ทั้งหมด การควบคุมและใช้งาน การซ่อมบำรุง ข้อมูลสำคัญ ไม่แตกต่างจาก black jack ใช้จากฐานบินฝั่งเป็นหลัก เพราะอุปกรณ์ปล่อย และเก็บ UAV ใหญ่มาก ไม่สามารถเอาไปกับเรือที่ ทร. มาเลเซีย มีได้ แต่จะพัฒนาหารุ่นใหม่ ที่นำไปกับเรือได้ต่อไป เพื่อใช้ในพื้นที่ เกาะบอร์เนียวและ ทะเลจีนใต้เป็นหลัก