สุพรรณบุรี-ย้อนอดีตวิถีชาวนาไทยชมการแสดงควายแสนรู้ “บ้านควาย”
ภาพ-ข่าว:มงคล/รัตนา/พงศกร สว่างศรี
เรียนรู้อดีตวิถีชีวิตชาวนาไทย ชมความแสนรู้ สั่งให้ควายยิ้มได้ กิจกรรมทำนาย้อนอดีตสมัยโบราญ ในอดีตชาวนาต้องอาศัยควายช่วยทำเกษตรกรรม คนกับควายจะมีความผูกพันกันตลอด ควายเป็นสัตว์เลี้ยงมีพระคุณกับชาวนาเป็นอย่างมาก
นายประภัตร โพธสุธน อดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สส.สุพรรณบุรี บรรยายด้วยตัวเอง เพื่อให้ความรู้นักเรียน นักท่องเที่ยว ที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตเกษตรกร หรือชาวนา จ.สุพรรณบุรีในอดีต ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี จากประวัติจารึกไว้ว่าคนไทยในอดีต ใช้แรงงานควายมาตั้งแต่สมัยทวารวดี หลายพันปีที่ผ่านมา วิถีชีวิตคนไทยในอดีต จะใช้ควายเป็นแรงงาน เพื่อการเกษตร ใช้ไถนา คราดนา นวดข้าว การขนส่ง เช่นการเดินทางด้วยการขี่ควาย หรือใช้ควายเทียมเกวียนบรรทุกสิ่งของ ขี่ควายต่อสู้กับข้าศึก เช่นชาวบ้านบางระจัน คนเราใช้ควายมาช้านาน
ซึ่งนักเรียน นักท่องเที่ยว ได้ร่วมกันทำกิจกรรม สุพรรณสัญจรย้อนอดีตวิถีไทย One Day Trip กิจกรรมทำนาที่บ้านควาย ซึ่งจัดให้มีกิจกรรมตามฐานเรียนรู้ เรื่องของชาวนาสมัยโบราญ ทั้งวิธีการทำนาปลูกข้าว ยุคปู่ย่าตายาย ทำกันมาก่อน โดยมีนายมานิต บัวทอง ผู้จัดการนำทีมวิยากรมาบรรยาย ให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวนาไทยในอดีต การใช้ควายมาช่วยทำไร่ไถนา ประกอบด้วย 1.ค.ควายน่ารัก ฐานนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง “ควาย” ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ประวัติความเป็น การค้นพบ การนำมาใช้งาน การเลี้ยงดู ตลอดจนวิธีการบังคับ การนำมาใช้งาน เป็นต้น สมัยโบราญชาวนาจะอาศัยควายช่วยทำเกษตรกรรม ทำไร่ไถทำนา เนื่องจากคนกับควาย จะมีความผูกพันซึ่งกันและกันและควายยังมีพระคุณกับชาวนาเป็นอย่างมาก (เป็นฐานรวม)
ส่วนกิจกรรมฐานที่ 2. คือ หมู่บ้านชาวนา สำหรับฐานนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องบ้าน มาดู กันว่าสำหรับทรงไทยภาดมีรูปแบบการก่อสร้างอย่างไร องค์ประกอบรอบๆ บ้านมีอะไรบ้าง มีรูปแบบการดำรงชีวิตอย่างไร เป็นต้น กิจกรรมฐานที่ 3. คือ ฐานวัฏจักรข้าวและการดำนา สำหรับฐานนี้จะให้ข้อมูลเริ่มตั้งแต่ระดับต่าง ๆ ของข้าวว่าแต่ละช่วงอายุของข้าวเป็นอย่างไรบ้าง วิธีการคำนาเป็นอย่างไรและน้อง ๆ จะได้สัมผัสกับวิธีการเตรียมดิน การหว่านข้าว การคำนา เป็นต้น
กิจกรรมฐานที่ 4. คือ ฐานจากท้องนาสู่ลานข้าว ฐานนี้จะเริ่มตั้งแต่เอาข้าวที่ได้จากการเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว นำมานวดโดยใช้แรงควายในการเหยียบย่ำรวงข้าว เพื่อแยกเมล็ดข้าวจากรวงข้าว ต่อจากนั้นจะนำไปทำความสะอาดด้วยเครื่องสีโบกโบราญ และสีด้วย เครื่องสีฝัดตามลำดับ สุดท้ายเราจะได้ข้าวสารเรียบร้อย พร้อมที่จะนำไปหุงรับประทานได้แล้ว กิจกรรมฐานที่ 5.คือ ฐานการแปรรูปข้าว สำหรับฐานนี้มาดูกันว่าข้าวที่เรารับประทานทุกวัน ทั้งที่เป็นข้าวเหนียว หรือข้าวเจ้า เราสามารถแปรรูปเป็นอะไรได้บ้าง เช่น ขนมครก ขนมจีน ข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวแดง เป็นต้น และสามารถโม่แป้ง และทคลอง ทำขนมครกด้วย กิจกรรม เพ้นสี วาครูป
ชมการแสดงของควาย โชว์ความสามารถของควายแสนรู้ มาดูกันว่านอกจากควายจะไถนา-คราคนาแล้ว ชมการแสดงควายแสนรู้ และชมพญาควาย มีลักษณะ มีเขาโค้งวงพระจันทร์ หน้าแด่น หางดอก ขาด่าง เท้าขุนนาง ปากคาบแก้ว เป็นลักษณะของพญาควาย ห้ามซื้อห้ามขาย และห้ามฆ่า เจ้าควายที่หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ควายแสนรู้จะสามารถทำไรได้อีกบ้าง อย่างเช่น ควายสวัสดีผู้ชม ควายยิ้ม ควายขึ้นที่สูง สะพายควาย ควายเทียมเกวียน เป็นต้น สุดท้ายผู้ชมขึ้นขี่ควายถ่ายภาพเก็บไว้เป็นระลึกหรือโพสต์ลงโซเชียล