อุบลราชธานี-ต้นเทียนวัดพระธาตุหนองบัว-วัดศรีประดู่ คว้าแชมป์งานแห่เทียน

อุบลราชธานี-ต้นเทียนวัดพระธาตุหนองบัว-วัดศรีประดู่ คว้าแชมป์งานแห่เทียน

ภาพ-ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดอุบลราชธานี

           วันนี้ ( 22 ก.ค.67 ) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา เวลา 19.00 น. ณ บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ถนนอุปราช ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้มีการแสดงแสง เสียง ประกอบขบวนแห่เทียนพรรษา กลางคืน ชุดการแสดงแนวอุบล ตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป และ ในโอกาสเดียวกันนี้ ก่อนที่การแสดงจะเริ่มขึ้น นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้เป็นประธานมอบรางวัลผลการประกวดต้นเทียนพรรษา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ประจำปี 2567 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลและร่วมแสดงความยินดีกับผุ้ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้
           สำหรับผลการประกวดต้นเทียนพรรษา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำปี 2567 มีดังนี้ รางวัลชนะเลิศประเภทแกะสลัก ขนาดใหญ่ ได้แก่ วัดพระธาตุหนองบัว ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินสด จำนวน 200,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ ประเภทแกะสลัก ขนาดใหญ่ อันดับ 1ได้แก่ อำเภอเดชอุดม ได้รับถ้วยรางวัล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี พร้อมเงินสด 180,000 บาท ,
          รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ พญาเทียนอำเภอวารินชำราบ โดยวัดผาสุการาม ได้รับถ้วยรางวัล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมเงินสด 150,000 บาท และ รางวัลชมเชย ได้แก่ วัดไชยมงคลได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินสด 100,000 บาท รางวัลชนะเลิศประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ ได้แก่ วัดศรีประดู่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินสด จำนวน 200, 000 บาท

          รางวัลรองชนะเลิศ ประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ อันดับ 1 ได้แก่ วัดแจ้ง ได้รับถ้วยรางวัล นายภูมิธรรม เวยชัย รองนายกรัฐมนตรี พร้อมเงินสด 180,000 บาท , รางวัลรองขนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ วัดใต้ท่า และวัตบูรพา (ครองถ้วยร่วมกัน) ได้รับถ้ายรางวัล นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีวากรกระพรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมเงินสด 150,000 บาท และ รางวัลชมเชยได้แก่ วัดพลแพน ได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินสด 100,000 บาท
           นอกจากนี้ ยังมีรางวัล ประเภทแกะสลัก ขนาดกลางรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ อำเภอเขมราฐได้รับถ้วยรางวัล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมเงินสด 100,000 บาท , ต้นเทียนพรรษาประเภทแกะสลัก ขนาดเล็ก รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ อำเภอนาตาลได้รับถ้วยรางวัล นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมเงินสด 60,000 บาท

            ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ขนาดกลาง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ อำเภอตระการพืช ผลได้รับถ้วยรางวัล พร้อมถ้วยรางวัล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมเงินสด 100,000 บาท , ต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ ขนาดเล็ก รางวัลชนะเลิศได้แก่ อำเภอศรีเมืองใหม่ได้รับถ้วยรางวัล นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมเงินสด 60,000 บาท
           ต้นเทียนพรรษา ประเภทโบราณ (แบบดั้งเดิม)ขนาดใหญ่ รางวัลชนะเลิศได้แก่ อำเภอสว่างวีระวงศ์ ได้รับถ้วยรางวัล นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมเงินสด 40,000 บาท , ต้นเทียนพรรษาประเภทโบราณ (แบบตั้งเดิม) ขนาดเล็ก รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ อำเภอดอนมดแดง ได้รับถ้วยรางวัล นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมเงินสด 30,000 บาท

            อนึ่ง ต้นเทียนวัดพระธาตุหนองบัว ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทแกะสลัก ขนาดใหญ่ ในปี 2567 นี้ ใช้เวลาทำ 4 เดือน นายช่างทำเทียนได้แก่ นายสุวัฒน์ สุทธิประภา และ นายสุดสาคร หวังดี ใช้งบประมาณ 1,000,000 บาท ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนครอุบลราชธานี ธนาคารออมสิน อุบลสแคร์ บริษัทดูโฮม บิ๊กซีอุบล และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป โดย ลำต้น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.70 ม. สูง 2 ม. ส่วนยอด 70 ซม. แกะสลักเป็นลายบัวกลุ่ม ภาพลายในส่วนของลำต้นแกะสลักเป็นภาพพุทธประวัติพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
           ในช่วงปัจจุบัน พุทธเจ้าที่ 4 คือ โคตรมะพุทธเจ้า ประกอบ้ขากับลายไทย เช่น ลายกนกเปลว กนกหัวนาค กนกก้านขด กนกลายขด และกนกลายอื่นๆเป็นต้น ส่วนฐานรองรับต้นเทียนมี 3 ฐาน ได้แก่ 1.ฐานชั้นแรก เป็นฐานรองรับต้นเทียน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.99 เมตร สูง 0.65 ม. แกะสลักเป็นลายกลีบบัว 2.ฐานรองรับต้นเทียน มีขนาดกว้าง 2.25 ม. ยาว 1 ม. แกะสลักเป็นภาพพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ชาติที่ 4 ของพระพุทธเจ้าตอนพระเนมิราช ท่องนรก สวรรค์ และ ฐานที่ 3 ได้แก่ฐานขบวนเทียน มีขนาดความกว้าง 2.50 ม. ความยาวกับส่วนที่ยื่นออกมา 20 ม. ความสูงจากระดับพื้น 5 ม. ไม่รวมส่วนยอด 70 ซม.

            ส่วนหน้าต้นเทียนของวัดพระธาตุหนองบัว ได้แกะสลักเป็นภาพพระพุทธเจ้า5พระองค์ เล่าเรืองตอนพระพุทธเจ้าเป็น พระโคตมะ มีแม่โคเป็นแม่บุญธรรมและเลี้ยงพระโคตมะ(ดังที่เห็นพระโคตมะประทับบนหลังโค) ต่อมาเป็นภาพพญานาค 3 เศียร นาคจำแลงซ้าย ขวา นำหน้าขบวน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันแห่เทียนพรรษา ส่วนตอนกลางเป็นพระเนมิราช พระราชาผู้ท่องนรก-สวรรค์ และ ส่วนหลังของต้นเทียน เป็นการบอกเล่าถึงพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระมารดาบนสวรรค์ จบแล้วพระองค์ได้ชักชวนให้ข้าราชบริวารทั้งหลายตั้งมั่น ประกอบกรรมดี บริจาคทาน รักษาศีล เพื่อให้ไปเกิดในเทวโลก เพื่อให้ได้รับความสุข สบาย รื่นรมย์ในทิพวิมาน
             ส่วนทางด้านมหาพญาเทียน 2567 หรือ ต้นเทียนวัดศรีประดู่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ นั้น ใช้เวลาในการสร้าง 1 เดือน สูง 5.50 ม. หน้ากว้าง 3.20 ม. ยาว 20 ม. มีนายอภิชาติ คอแก้ว เป็นหัวหน้าช่างทำต้นเทียน นายสมคิด สอนอาจ (ครูภูมิปัญญาไทย, ครูศิลป์ของแผ่นดิน) เป็นที่ปรึกษา นายศุภกฤต สอนอาจ (ผู้ออกแบบ) นายชาญณรงค์ สอนอาจ (นายช่าง ผู้ประสานงาน) ได้รับการสนับสนุนจาก ธนชาตประกันภัย และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป

             โดยบนต้นเทียนวัดศรีประดู่ ได้นำเรื่องราวพุทธประวัติของเจ้าชายสิทธัตถะช่วงเสด็จออกบรรพชา ที่ต้องประสบกับอุปสรรคขัดขวางต่างๆนานา แต่ด้วยความมุงมั่นหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง จึงทำให้พระองค์ก้าวข้ามผ่านทุกอุปสรรคเหล่านั้นไปได้ เช่นเดียวกันกับการใช้ชีวิตของปุถุชน ย่อมพบเจอปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้ทุกเมื่อ แต่หากเรามีความมุ่งมั่น มีเป้าหมายอย่างแน่วแน่ ย่อมนำพาเราไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!