ร้อยเอ็ด-เปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อยั่งยืน
ภาพ-ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน
ที่ปรึกษา รมต.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อยั่งยืน ตามนโยบาย Quick wins ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 7 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายรัตนะ สวามีชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อยั่งยืน ตามนโยบาย Quick wins ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ห้องประดับดาว โรงแรมเพชรรัชต์ การ์เด้นท์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี นายชัยวัฒน์ ชัยเวชพิสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย นายเอกรัฐ พลชื่อ ประจำสำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกร 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคีเครือข่าย ร่วมให้การต้อนรับ ดร.ประจักร์ บุญกาพิมพ์ ประธานสภา
การเปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อยั่งยืน (Supply hain) มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาราคาโค ซึ่งเป็นมติของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อแก้ปัญหาการเลี้ยงโคอันเป็นนโยบายหลักจากประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติให้แต่ละภาคนำเสนอต่อรัฐบาล จึงเสนอการแก้ปัญหา ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ยกระดับโคเนื้อ ให้ได้รับมาตรฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 125 คน จากสภาเกษตรกรจังหวัด 20 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน เกษตรกร องค์กร ภาคีเครือข่าย เพื่อรับฟังความเห็นที่เกี่ยว ข้องต่อข้อเสนอดังกล่าว และนำเสนอข้อเสนอดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นมติคณะรัฐมนตรี
ดังนั้น สภาเกษตรกรจังหวัด 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงจัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อยั่งยืน (Supply Chain) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาราคาโคตกต่ำ และยกระดับอาชีพนี้ บรร เทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรต่อไป
นายรัตนะ สวามีชัย คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เวทีรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อยืน (Supply Chain) ภายใต้โต้โครงการขับเคลื่อนภารกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อสะท้อนปัญหาเร่งสู่รัฐบาล NFC : Pain Point (Quick Win) การจัดเวทีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อยั่งยืน เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาราคาโคเนื้อตกต่ำ ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อย่างยั่งยืน เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และยกระดับให้ได้รับมาตรฐานสภาเกษตรกรแห่งชาติ จัดโครงการขับเคลื่อนภารกิจเชิงกลยุทธ์เพื่อสะท้อนปัญหาเร่งด่วนสู่รัฐบาล NFC : Pain Point (Quick Win) เพื่อเสนอต่อรัฐบาล
โดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร ซึ่งประกอบด้วย 4 โครงการหลัก ครอบคลุมการแก้ไขปัญหา 4 ภาค เนื่องจากเกษตรกรแต่ละภาคประสบปัญหาแตกต่างกัน ได้แก่ ภาคใต้ : แนวทางแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันตกต่ำทั้งระบบบ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานโคเนื้อยั่งยืน (Supply Chain) ภาคเหนือ : มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม “เปลี่ยนภาระเป็นพลังงาน” ภาคกลาง : การเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำในแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน ซึ่งข้อเสนอทั้ง 4 ข้อ
สภาเกษตรกรแห่งชาติจะผ่านการจัดเวทีรับฟังความเห็นและนำเสนอเข้าที่ประชุมสภาเกษตรแห่งชาติอีกครั้ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป การจัดเวทีในวันนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติสามารถบรรลุเป้าหมาย
ตามที่กำหนดไว้ ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.พ.ศ. 2553 ในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับเกษตรกรรม
กิจกรรในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม พ.ศ.2567 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 125 คน จากสภาเกษตรกรจังหวัด 20 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน เกษตรกร องค์กรภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมรับฟังความเห็นที่เกี่ยวข้องและนำเสนอข้อเสนอดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ต่อไป