ชัยนาท-กรมชลประทานออกประกาศเตือนฉบับที่ 4 พื้นที่11จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา
ภาพ-ข่าว:ธนพนธ์ แสงทอง
วันที่ 25 สิงหาคม 2567 เฝ้าระวังหลังเขื่อนเจ้าพระยาเตรียมปรับเพิ่มการระบายน้ำในอัตรา 900 ลบ.ม.นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมชลประทาน ได้ออกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ และการบริหารน้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 4 ไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุ รี ลพบุรี ปทุมธา นีนนทบุรี สมุทรปราการ และ กรุงเทพมหานครฯ
เนื่องจากพบว่าร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 24-30 ส.ค. 2567 และคาดว่าในอีก 1-3 วันข้างหน้า ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขาอีก 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที นอกจากนี้กรมชลประทานได้มีการรับน้ำเข้าระบบชลประทาน 2 ฝั่ง ในอัตรา 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
กรมชลประทานจึงต้องปรับการระบายผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 700-900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุ บันอีกประมาณ 40-80 เซนติเมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.อยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.อยุธยา (แม่น้ำน้อย) โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน หากมีการระบาย มากกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป
สำหรับปัจจุบัน ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่านอยู่ที่ 952 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำทางด้านเหนือเขื่อนอยู่ที่ 15.95 เมตร/รทก. มีปริมาณน้ำทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 9.40 เมตร/รทก. มีระดับน้ำห่างจากตลิ่งอยู่ที่ 6.94 เมตร และเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการระบายน้ำอยู่ที่ 649 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
อย่างไรก็ตาม สำนักงานชลประทานที่ 12 โดยกรมชลประทาน ก็ขอให้ประชา ชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มต่ำ ทั้ง 11 จังหวัด เฝ้าติดตามและเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด