ร้อยเอ็ด-สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหม่บ้านและชุมชนเมือง
ภาพ-ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน
วันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 10.00 น.นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหม่บ้านและชุมชนเมือง ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงามพัฒนาชุมชนจังหวัดรัดร้อยเอ็ด อาคาร 3 ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายเสฐียร เกตุภูงา ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขาเขต 4 นางราณี วงศ์ลุน พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุม
นายเสฐียร เกตุภูงา ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขาเขต 4 กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2567 รวมระยะเวลาประมาณ 23 ปี มีเป้าหมายการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทั้งสิ้น 2,474 กองทุน จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับการจัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ผ่านบัญชีกองทุนหมู่บ้าน หรือบัญชีที่ 1 หมายความว่า บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ภายใต้ชื่อกองทุนหมู่บ้าน (ชื่อหมู่บ้านหรือชื่อชุมชนเมือง) ซึ่งกองทุนหมู่บ้านเปิดไว้รองรับเงินจัดสรรจากรัฐบาล ดังนีี้
การจัดสรรและโอนเงินงบประมาณ(กองทุนละ 1 ล้านบาท) แยกเป็น กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 2,443 กองทุน กองทุนชุมชนเมืองจำนวน 19 กองทุน กองทุนชุมชนทหาร จำนวน 12 กองทุน รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,478 กองทุน (เป็นเงินจำนวน 2,478ล้านบาท) สองพันสี่ร้อยเจ็ดสิบสี่ล้านบาทถ้วน โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 1 โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 1 จัดสรรงบประมาณตามผลการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจากสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เมื่อ พ.ศ.2546 ให้กับกองทุนหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการระดับดีเด่น (AAA) จำนวน 856 กองทุน เป็นเงิน 85,600,000 บาท โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 2
เมื่อ พ.ศ. 2550 โดยมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป้าหมายที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลสามารถขอเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้าน ตามเงื่อนไขดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 2,422 กองทุน โครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ 3 รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้กับกองทุนหมู่บ้านชุมชนเมืองโดยสนับสนุนงบประมาณให้กับกองทุนหมู่บ้านที่เข้าหลักเกณฑ์และคุณสมบัติ ภายใต้เงื่อนไขที่สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนดไว้ระยะที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2555 เป้าหมายทั้งหมด จำนวน 2471 กองทุน ซึ่งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นายเสฐียรฯ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติได้ประเมินศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองครั้งที่ 2 เมื่อปี 2555 ผู้ประเมินคือคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ และ สทบ. การบริหารจัดการระดับดีมาก ( A) จำนวน 952 กองทุน การบริหารจัดการระดับดี (B) จำนวน 1,125 กองทุน การบริหารจัดการระดับปานกลาง(C) จำนวน 297 กองทุน การบริหารจัดการระดับต้องปรับปรุง(D) จำนวน 85 กองทุน และไม่ได้รับการประเมินจำนวน 15 กองทุน รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,474 กองทุน และการประเมินครั้งที่ 3 ในปี 2567 สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้มีการประเมินผลสถานะการเงินและศักยภาพการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการประเมินระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม 2567 อยู่ระหว่างรอผลการประเมิน
ทั้งนี้ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนได้รับรางวัล Best Practice การดำเนินการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองดีเด่นจำนวน 5 กองทุน ได้แก่กองทุนหมู่บ้านบ้านเล้า ตำบลหนองแก้ว. อำเภอเมืองร้อยเอ็ด. กองทุนหมู่บ้านบ้านตาจ่อย ตำบลดอกล้ำ อำเภอปทุมรัตต์ กองทุนหมู่บ้านบ้านหนองต่าย ตำบลเขวทุ่ง อำเภอธวัชบุรีกองทุนหมู่บ้านบ้านบะตากา ตำบลหนองใหญ่อำเภอโพนทอง และกองทุนหมู่บ้านบ้านป่าน ตำบลดงสิงห์ อำเภอจังหาร
นอกจากนี้ยังมีรางวัล Best Practice ในการดำเนินโครงการประชารัฐจังหวัดร้อยเอ็ด โครงการประชารัฐดีเด่น จำนวน 5 กองทุน ได้แก่กองทุนหมู่บ้านบ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ กองทุนหมู่บ้านบ้านใหม่ไฟฟ้า ตำบลบุ่งเลิศ อำเภอเมยวดี กองทุนหมู่บ้านหนองผือ ตำบลโนนนตาล อำเภอเมืองร้อยเอ็ด กองทุนหมู่บ้านดอนยานาง ตำบลโพธิ์ทองอำเภอโพนทอง และกองทุนหมู่บ้านหนองคู ตำบลป่าสังข์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน