กาฬสินธุ์-แชร์ว่อนโซเชียลเพจดัง..แฉคลิป คล้าย หมอปะทะหมอใหญ่..!!
ภาพ-ข่าว:
“เจรจาข้อร้องให้ช่วยจัดซื้อกล้องจุลทรรศน์ผ่าตัดชั้นสูง 10 ล้าน ปมถูกด่าขู่ส่งคืนงบประมาณ!!”
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 เพจข่าวไดโนนิวส์ ได้โพสต์ คลิปสนทนา 2 คลิป พร้อมข้อความที่ว่า งบประมาณมหาศาลเพื่อสุขภาพประชาชน แต่ทำไมโครงการถึงสะดุด? มีอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลัง การยกเลิกโครงการซื้อกล้องจุลทรรศน์ และเครื่องตรวจหัวใจ? โดยมีแฮชแทรค์ ว่า #กาฬสินธุ์ #ตรวจสอบ #งบกลาง #งบCF #กระทรวงสาธารณสุข EP1 ยาว 5 นาที และ EP2 ยาว 1.20 นาที
ภายในคลิปปรากฏเป็นการพูดคุยกัน ภายในห้องสี่เหลี่ยมคล้ายกับหมอคุยกับหมอ ที่ฟังได้ว่าเป็นการจัดซื้อกล้องจุลทรรศน์ และเครื่องตรวจหัวใจ แบ่งเป็นจัดซื้อกล้องจุลทรรศน์ ราคา 10 ล้านบาท และ เครื่องตรวจหัวใจราคา 3 ล้านบาท ของโรงพยาลกาฬสินธุ์ ที่หมอโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ต้องการที่จะซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นความต้องการของแพทย์ที่จะได้ใช้เครื่องมือ แต่ถูกปฏิเสธโดยอ้างถึงแผนจัดซื้อจัดจ้างที่อ้างว่าเป็นหน้าที่ของกรรมการ แต่ที่ไม่ยอมให้ซื้อก็เพราะว่าต้องการที่จะให้ถอดบางอย่างในอุปกรณ์การแพทย์ออกก่อนที่ทางหมอโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จะปฏิเสธว่าหากงบประมาณที่ขอไปไม่ได้ตามที่ตกการจะไม่จัดซื้อก็ได้ จนเข้าใจได้ว่าจะเป็นคลิปที่เกิดขึ้นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
ต่อมา ผู้สื่อข่าวจึงได้เดินทางไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อขอเข้าพบ นพ.วิทยา วัฒนเรืองโกวิท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อสอบถามคลิปดราม่าดังกล่าว โดย นพ.วิทยาฯ ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพเพียงแต่ยอมพูดคุยตอบคำถามและยอมรับว่าคลิปที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ เพจไดโนนิวส์ คือคลิปเสียงตนที่ได้สนทนากับ แพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างกล้องจุลทรรศน์และเครื่องตรวจหัวใจจริง ที่ให้เหตุผลเพียงว่ายังอยู่ในระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างทางระบบอิเลคทรอนิกส์และปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล ที่บอกเพียงว่าตนมีภาระกิจเยอะไม่สะดวกที่จะให้ข้อมูลใดๆทั้งสิ้น
ผู้สื่อข่าวจึงได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง แหล่งข่าวระบุว่า การจัดซื้อจัดจ้างเป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรพิเศษ ที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ได้ขอไปยัง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ขณะนี้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 ที่เดินทางมาตรวจราชการรับฟังปัญหาความต้องการของประชาชนและได้มีการประชุมที่ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งนี้ส่วนราชการจึงได้ของบประมาณเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ.2562 ไปจนได้รับการจัดสรรอนุมัติผ่าน ค.ร.ม.เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567 วงเงินประมาณ 130 ล้านบาทส่งมาให้จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการ
ในส่วนของด้านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับการจัดสรรในวงเงิน จำนวน 45,024,000 ล้านบาท นายสนั่น พงษ์อักษร ผวจ.กาฬสินธุ์ ได้มอบหมายให้ นพ.วิทยา วัฒนเรืองโกวิท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ในจำนวนนี้มีโรงพยาบาลที่ได้รับการจัดสรรรวม 6 โรงพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลสมเด็จ โรงพยาบาลยางตลาด โรงพยาบาลฆ้องชัย โรงพยาบาลร่องคำ โรงพยาบาลกมลาไสย และ โรงพยาบาลกฬสินธุ์ ที่ทั้งหมด ได้ขอจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ตามความต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลน อาทิ เครื่องเอกซเรย์ เตียงผ่าตัด เครื่องดมยาสลบ เครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ ขณะที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ได้ขอจัดซื้อกล้องจุลทรรศน์สำหรับผ่าตัดจุลศัลยศาสตร์แบบขั้นสูง พร้อมกล้องผู้ช่วยและระบบบันทึกภาพ ราคา 10 ล้านบาท 1 เครื่องและเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ชนิดความคมชัดสูงไม่น้อยกว่า 2 หัวตรวจ ราคา 3 ล้านบาท 1 เครื่อง
แหล่งข่าวระบุว่า โรงพยาบาลเกือบทั้งหมด ได้รับการอนุมัติ ยกเว้นแต่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ยังไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจาก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ยังไม่อนุมัติให้จัดซื้อ โดยเฉพาะกล้องจุลทรรศน์ต้องการให้ซื้อแบบไม่ที่ไม่ต้องมีฉีดสี ถือเป็นการเปลี่ยนสเปกอุปกรณ์ดังกล่าว จึงทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกรรมการตรวจรับหรือจัดซื้อจัดจ้างไม่ยอมที่จะเปลี่ยนแปลงสเปกอุปกรณ์ จึงได้มีการเข้าไปพูดคุย และปรากฏออกมาทางโซเชียล ตามบทสนทนาดังกล่าวที่ปรากฏในเพจไดโนนิวส์ ส่วนใครเป็นคนอัดคลิปนั้นไม่รู้เพราะในวันที่เข้าไปคุย มี แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ 2 คน และมี ฝ่ายพัสดุ และเลขา สสจ.กาฬสินธุ์ และนายแพทย์สาธารณสุข รวม5 คนเท่านั้น
รายงานแจ้งว่าจากการตรวจสอบและที่เป็นดราม่า แหล่งข่าวแจ้งว่า ต้องการให้มีการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างงบประมาณนี้ เพราะโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเจ้าหน้าที่จัดซื้อตามระเบียบพัสดุ และได้ส่งเอกสารความต้องการรวมถึง ทีโออาร์ ไปตั้งแต่ช่วงก่อนวันที่ 20 กันยายน 2567 จนมีการประกาศทีโออาร์เชิญชวน แต่ก็ยังถูกยกเลิกที่ปรากฏใน การประกวดราคา ลงวันที่ 24 กันยายน 2567 ที่จะทำให้งบประมาณ 13 ล้านบาทของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ตกไปอย่างน่าเสียหาย ที่จะทำให้โอกาสที่แพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จะมีเครื่องมือรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินตกไปและต้องส่งต่อไปรักษายังโรงพยาบาลแห่งอื่นๆที่มีอุปกรณ์ จึงต้องการให้กระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบปัญหานี้ด้วย