ปทุมธานี-วัดโบสถ์จัดสืบสานประเพณีตักบาตรพระร้อยทางน้ำ
ภาพ-ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดปทุมธานี
วันที่ 22 ต.ค.2567 นายปัญญา นพขำ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง อดีต ส.ส.สุทิน นพขำ รองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง นายสายัณ นพขำ ที่ปรึกษานายกเทศบาลตำบลบ้านกลาง นายอำนาจ จันทร์พางาม ผู้อำนวยการโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี พร้อมข้าราชการพ่อค้า ประชาชนจำนวนมาก ร่วมประเพณีทำบุญตักบาตรพระร้อยทางเรือ อนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมในเทศกาลวันออกพรรษา ที่วัดโบสถ์(หลวงปู่เทียน) ม.5 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี โดยมีพระราชมหาเจติยาภิบาล (ต่อศักดิ์ สุนฺทรวาที) เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ขึ้นเรือใหญ่นำขบวนและพระอีก 100 รูปลงเรือเล็กตาม
โครงการประเพณีตักบาตร พระร้อยประจำปีพุทธศักราช 2567 ณ วัดโบสถ์ (หลวงปู่เทียน) จังหวัดปทุมธานี ขอได้รับความอนุเคราะห์ จากนายสายัณ นพขำ ที่ปรึกษานายกเทศบาลตำบลบ้านกลางด้วยวัดโบสถ์ (หลวงปู่เทียน) จังหวัดปทุมธานี มีกำหนดจัดงานประเพณีตักบาตรพระร้อย ประจำปีพุทธศักราช 2567 ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดปทุมธานีร่วมธำรงส่งเสริมประเพณีทางพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันออกพรรษาและร่วมอนุรักษ์ประเพณีตักบาตรพระร้อยซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยเชื้อสายรามัญในจังหวัดปทุมธานี
ประเพณีการตักบาตรพระร้อยของชาวปทุมธานีในอดีต ดูแปลกกว่าที่อื่นๆ โดยเฉพาะการตักบาตรพระร้อยตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีการตักบาตรเป็นระยะทางไกลเป็นกิโลเมตรเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นต้นไป โดย ทางวัดที่อยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง แต่ก็ไม่ได้กำหนดไปเสียทุกวัด
ส่วนใหญ่จะจัดให้มีการตักบาตรเฉพาะในวัดใหญ่ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะตกลงกำหนดวันที่จะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อไม่ให้วันตักบาตรฯ ตรงกันหรือทับซ้อนกัน เพราะถ้าตรงกันแล้ว จำนวนพระที่จะมารับบาตรจะได้จำนวนไม่ครบ 100 รูป (ซึ่งผู้รู้บางท่านกล่าวว่าเป็นที่มาของคำว่า “พระร้อย”) และต้องการให้พระพุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้กำหนดเวลา จะได้เตรียม จัดทำอาหารหวานคาว ไว้ทำบุญตักบาตรได้ถูกต้องด้วย การกำหนดว่าวัดใด จะทำบุญตักบาตรพระร้อยในวันใดนั้น ได้กำหนดไว้