สระแก้ว-ส.ว.ลงพื้นที่ รับฟังข้อเสนอของประชาชนและส่วนราชการ

สระแก้ว-ส.ว.ลงพื้นที่ รับฟังข้อเสนอของประชาชนและส่วนราชการ

ภาพ/ข่าว:สวาท เกตุงาม

 ส.ว.ลงพื้นที่สระแก้ว รับฟังข้อเสนอของประชาชนและส่วนราชการ

           เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 สิงหาคม 2562 สมาชิกวุฒิสภา ได้จัดโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ที่สำนักงาน เทศบาลตำบลป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นำโดย พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว พร้อมด้วยสมาชิกวุฒิสภาอีกจำนวน 16 คน โดยมี นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ผู้แทนหน่วยราชการ ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น และประชาชน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็น ในประเด็นต่าง ๆ โดยมีเป้าหมาย จำนวน 30 คน
            พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร เผยว่า ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้กำหนดไว้ว่า ก่อนการตรากฎหมาย ทุกฉบับ จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน และเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว ต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อพัฒนากฎหมาย ทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆในสังคม ซึ่งเป็นหน้าที่ของวุฒิสภาโดยตรง ที่จะแนะนำให้ประชาชน เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาและรับฟังข้อมูล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย จึงได้เดินทางมาที่จังหวัดสระแก้ว เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น จากส่วนราชการและประขาชนในท้องที่ ในหลายๆด้าน หลายประเด็นอีกด้วย
              ด้านนายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ในโอกาสที่สมาชิกวุฒิสภา ได้มีโอกาสพบปะกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากลั่นกรองกฎหมาย นั้น จังหวัดสระแก้ว รัฐบาลได้ประกาศเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 4 ตำบล 2 อำเภอ ส่วนปัญหาอุปสรรคในการบริหารราชการของจังหวัดสระแก้ว นั้น ขาการบังคับใช้กฎหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กฏหมายว่าด้วยสาธารณสุขที่ให้อำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะปฏิกูลมูลฝอยแต่ปรากฏว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งยังมีการจัดการขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ยังเทกองไม่มีการคัดแยกขยะ ซึ่งผู้ว่าฯ มีอำนาจเพียงกำกับดูแล อปท.เท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาสั่งการให้ อปท.นั้น ดำเนินการให้มีผลทางกฏหมายได้ เนื่องจาก อปท.มีความอิสระในกาาบริหารจัดการเป็นต้น ส่วนปัญหาข้อกฏหมายเกี่ยวกับชีวิตของประชาชน การบังคับใช้กฏหมายต้องคุ้มครองประโยชน์สาธารณด้วย เช่น สภาพพื้นที่ของ จ.สระแก้วส่วนใหญ่เป็น ส.ป.ก. อุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ ผังเมืองรวมของจังหวัดเป็นพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเป็นเมืองของ จ.สระแก้ว ไม่เอื้อต่อการส่งเสริมการลงทุนมาตั้งโงงานอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนต้องประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ซึ่งมูลค่าผลผลิตตกต่ำ หากต้องการความเป็นเมืองมากขึ้น กฏหมายผังเมืองต้องออกผังเมืองรวมเป็นสีม่วง สำหรับตั้งโรงงานให้มากขึ้น
              ส่วนประชาชนที่ประกอบการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้ต้องใช้ระยะเวลานานในการอนุญาต หากสามารถมอบให้ผู้ว่าฯได้จะเป็นการดีจะได้ลดขั้นตอนให้แก่ประชาชน
              นอกจากนี้สระแก้วยังมีเส้นทางขนส่งที่เชื่อมจังหวัดสระแก้วกับอีสานใต้โดยมีช่องตะโกเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่เชื่อมเส้นทางดังกล่าวมาเป็นเวลานาน แต่เนืรองจากมีสภาพช่องการจราจรที่คับแคบ มี 2 ช่องจราจรสวนไปมา จึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุจำนวนมาก จนได้รับขนานนามว่า “โค้ง 500 ศพ” ยิ่งในช่วงเทศกาลที่มีการใช้เส้นทางดังกล่าว ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาจราจรหนาแน่น จึงมีแนวคิดที่จะขยายช่องจราจรดังกล่าว แต่เนื่องจาก ช่องตะโก ได้รับการขึ้นมรดกโลก ทำให้ไม่สามารถขยายช่องจราจรได้ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในบริเวณดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นหากกฏหมายมรดกโลกยอมให้ขยายช่องจราจรบริเวณช่องตะโกได้จะทำให้มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุลดลง ดังนั้น “การตรากฏหมายออกมาใช้บังคับ กฏหมายนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะด้วย

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!