ร้อยเอ็ด-รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงนโยบายและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

ร้อยเอ็ด-รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงนโยบายและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน/อำนวย ระดาบุตร บก.ข่าว/สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด

           รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่ร้อยเอ็ด ชี้แจงนโยบายและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการประกันรายได้เกษตรกรและกิจกรรมกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

           เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 14 กันยายน 2562 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อชี้แจงนโยบายและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการประกันรายได้เกษตรกรและกิจกรรมกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ที่ หอประชุมโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายวันชัยคงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้บริหารระดับสูงของจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ และชาวอำเภอเกษตรวิสัย เกษตรกรจากจังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ยโสธร และพื้นที่ใกล้เคียง ร่วมให้การต้อนรับ
           นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวต้อนรับว่า จังหวัดร้อยเอ็ดมี 20 อำเภอประชากร 1,307,208 คน มีพื้นที่ทำการเกษตร 3,959,558 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าว จำนวน 3,103,033 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 78 ของพื้นที่ทำการเกษตร แยกเป็นข้าวหอมมะลิ 2,560,684 ไร่ ข้าวเหนียว 542,352 ไร่ และผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) มีมูลค่ารวม 73,485 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัว 68,751 บาท เป็นลำดับที่ 15 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงสร้างเศรษฐกิจจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าสาขาการผลิต ที่มีสัดส่วนสูงสุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 23 สาขาการศึกษา ร้อยละ 18 และสาขาขายส่งขายปลีก ร้อยละ 12 จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจของจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นอยู่กับภาคเกษตรกรรม โดยพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ซึ่งข้าวที่เกษตรกรปลูกเป็น ข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีคุณภาพดีที่สุดในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยจังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ปลูก ข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ กว่า 986,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.8 ของพื้นที่ปลูกข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ (5 จังหวัด รวม 2,107,690 ไร่) ซึ่งข้าวหอมมะลิของ จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เมื่อปี 2550 จังหวัดร้อยเอ็ดถือเป็นเมืองหลวงของข้าวหอมมะลิโลก จึงได้มีการกำหนดการจัดงาน “มหกรรมข้าวหอมมะลิโลก” เป็นประจำทุกปี เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพ ข้าวหอมมะลิ คือ “การตลาดและนวัตกรรมนำการผลิต” เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของจังหวัดร้อยเอ็ด ในการเป็นเมืองหลวงข้าวหอมมะลิโลก และยังแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าการส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยนวัตกรรมในการลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้วยการแปรรูปเป็นสินค้าต่างๆ ที่หลากหลายทั้งอาหารและ เวชสำอาง อันจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดร้อยเอ็ด อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
           นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าในนามของรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเยี่ยมเยือนพี่น้องชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมหาสารคามกาฬสินธุ์ยโสธรสุรินทร์และศรีสะเกษที่สละเวลาฝ่าสายน้ำมาร่วมประชุมกันในวันนี้นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติหรือนอนขอได้มีมติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2560/61 3 รอบที่ 1 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอเป็นวงเงินงบประมาณ 2149 5.47 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวภายในวงเงินงบประมาณดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะสามารถติดต่อขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สิทธิ์ในรอบที่ 1 นี้ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการผ่านสำนักงาน ธกส.ในด้านชนิดข้าวราคาและปริมาณประกันรายได้อาทิข้าวเปลือกหอมมะลิราคาประกัน 15,000 บาทต่อตันครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตันข้าวเปลือกเหนียวราคาประกันรายได้ 12,000 บาทต่อตันครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตันระยะเวลาดำเนินการการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2562/63 ที่ 1 ปลูกข้าวระหว่าง 1 เมษายนถึง 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้เป็น 16 มิถุนายน 2562 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีขั้นตอนและวิธีการเป็นระบบชัดเจนตรวจสอบได้ได้บูรณาการหน่วยงานกำกับดูแลใกล้ชิดโปร่งใสเป็นธรรมได้แก่กรมการค้าภายใน ธกส. กรมส่งเสริมการเกษตร การจ่ายเงินเกษตรสหกรณ์ ธกส. จะโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงช่วงระยะเวลาที่กำหนดภายใน 3 วัน โดยผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่านโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะช่วยสร้างความมั่นคงและมั่นใจในอนาคตช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาให้แก่เกษตรกรไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุนในขณะเดียวกันก็ไม่บิดเบือนหรือทำลายกลไกตลาดทำให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก จึงขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรผู้ประกอบการและสื่อมวลชนช่วยกันเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวให้แพร่หลายเพื่อให้เกษตรกรได้รับข้อมูลครบถ้วนเข้าใจและเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับอย่างทั่วถึงด้วย
            นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย มอบอุปกรณ์การแพทย์แก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลดงครั่งน้อย มอบเครื่องดนตรีและอุปกรณ์แก่โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ มอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนจำนวน 19 โรงเรียน ของชุมชน จำนวน 180 ทุน มอบอุปกรณ์เพื่อทำนา (ตาข่าย)ตากข้าว และเยี่ยมบูทแสดงสินค้า โอทอป ห้าดาว ของจังหวัดร้อยเอ็ด และเวลา 14.00 เดินทางไปตรวจเยี่ยมสหกรณ์เกษตรวิสัยจำกัด

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!