ปทุมธานี-ดัชนีราคาขยะสะท้อนเศรษฐกิจไทยเข้าขั้นวิกฤต

ปทุมธานี-ดัชนีราคาขยะสะท้อนเศรษฐกิจไทยเข้าขั้นวิกฤต

ภาพ/ข่าว:อนันต์ วิจิตรประชา

ดัชนีราคาขยะสะท้อนเศรษฐกิจไทยเข้าขั้นวิกฤต

         วันที่ 22 พ.ย. 2562 นายธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ หรือโหมว ปราบขยะ ผู้บริหารและนักธุรกิจส่งออกขยะรายใหญ่ของไทย ย่านปทุมธานี ได้เปิดเผยถึงราคาขยะโดยรวมที่ลดลงเป็นอย่างมากในช่วง 3 เดือนหลังว่าโดยปกติเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีผู้ผลิตจะหันมาใช้สินค้ารีไซเคิลมากขึ้นเพราะมีราคาถูกกว่า ดังนั้นดัชนีราคาขยะจึงสามารถสะท้อนให้เห็นสภาพของเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆได้เป็นอย่างดี โดยปกติเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีผู้ผลิตจำทำการลดต้นทุนและหันมาซื้อสินค้ารีไซเคิลเพื่อทดแทนการใช้วัตถุดิบใหม่ แต่ในปัจจุบันสิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดคงหนีไม่พ้นภาคการส่งออกของไทยเพราะถึงแม้เศรษฐกิจโลกจะมีอัตราการเจริญเติบโตเพียง 3.039 เปอร์เซ็นต์ มีการลดลง 0.126 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาแต่ก็ไม่ถือว่าอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ เมื่อคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะเห็นว่าภาคการส่งออกในไตรมาสที่4 ติดลบถึง 4.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลโดยตรงมาจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับสกุลเงินของคู่ค้าหลัก ยังไม่รวมถึงการถูกตัดสิทธิ์ GSP ที่กำลังจะมีผลกระทบในอนาคต ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นแปลว่าสินค้าประเทศไทยที่ทำการส่งออกจะมีราคาสูงขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ภาคธุรกิจส่งออกส่วนใหญ่มีกำไรเฉลี่ยที่ 3 เปอร์เซ็นต์ ฉุดให้ราคาสินค้าไทยแพงขึ้นมาก คู่ค้าต่างประเทศลดการสั่งซื้อสินค้าจากไทยลง และเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องดำเนินการแทรกแทรงค่าเงินอย่างเร่งด่วน


          ธุรกิจรีไซเคิลขยะเปรียบเสมือน “โดมิโน่ตัวสุดท้าย” ทางเศรษฐกิจเพราะเป็นธุรกิจที่ใช้ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด เป็นธุรกิจที่ดูดซับขยะจากภาคธุรกิจอื่นมาเป็นสินค้า ในสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจดัชนีราคาขยะโดยรวมควรมีราคาที่สูงขึ้นเพราะความต้องการลดต้นทุนที่มากขึ้น แต่ในปัจจุบันดัชนีราคาขยะโดยรวมกลับลดลงเป็นประวัติการณ์เพราะโรงงานในไทยหยุดกิจการ สาเหตุสำคัญคือไม่สามารถทำการส่งออกได้ เมื่อดัชนีราคาขยะโดยรวมลดลงในภาวะที่เศรฐกิจลดอัตราการเติบโตลง จึงเป็นตัวชี้วัดได้ว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในขั้น “วิกฤต” อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อธุรกิจรีไซเคิลเป็นธุรกิจที่อาศัยการดูดซับขยะจากภาคธุรกิจอื่นและได้รับผลกระทบสะท้อนว่าธุรกิจในภาคอื่นซึ่งเปรียบเป็นโดมิโนตัวก่อนหน้าได้ล้มลงกันไปก่อนหน้าหมดแล้ว และค่าเงินที่แข็งขึ้นก็เป็นผลมาจากความต้องการเกร็งกำไรค่าเงินบาทที่มากขึ้นเพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไทยที่ยังคงสูงกว่าในหลายประเทศทางยุโรป ที่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่ากับศูนย์ การประกาศลดลงของดอกเบี้ยนโยบายจึงอาจช้าเกินไป ค่าเงินที่แข็งเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ขณะที่ประเทศต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ไม่ได้แข็งค่ามาจากรากฐานที่แข็งแรงทางเศรษฐกิจ อย่างที่อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังให้ความเห็นแต่อย่างใด เพราะ GDP ที่ขยายตัวเกิดจากภาคการผลิตของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และเครื่องจักรมีอัตราส่วนถึง 54 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งประเทศและเป็นการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นรัฐบาลธนาคารแห่งประเทศไทยจึงควรเร่งแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไป.

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!