นครศรีธรรมราช-อธิบดี พช. มอบนโยบาย ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง สังคมเป็นสุข

นครศรีธรรมราช-อธิบดี พช. มอบนโยบาย ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง สังคมเป็นสุข

ภาพ/ข่าว:คัคเนศวร์ พรอัศวโยธิน

         อธิบดี พช. มอบนโยบาย ชูสร้างความร่วมมือท้องที่ท้องถิ่น ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็ง สังคมเป็นสุข

          วันที่ 10 มกราคม 2563 เวลา 13.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) มอบนโยบายให้กับข้าราชการสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้หยิบยกประเด็นสำคัญในเพลงมาร์ชพัฒนาชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ทำงานโดยยึดหลักการพัฒนาชุมชน ให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นผู้ช่วยเหลือ กระตุ้น ส่งเสริมให้มีการพัฒนา จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ เน้นประสานความร่วมมือระหว่างพัฒนาชุมชน ปกครอง และท้องถิ่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ คำว่า “เรา” ในเพลงมาร์ชพัฒนาชุมชน ไม่ได้หมายถึง แค่ตัวข้าราชการพัฒนาชุมชน ที่มีคนอยู่ไม่กี่คนทำอย่างไรก็ไม่สามารถขับเคลื่อนงานให้เป็นผลสำเร็จ แต่หมายรวมถึง ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำองค์กร ผู้นำสตรีอาสาพัฒนาชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่อีกมากมาย ซึ่งคำว่าพวกเรา คนขอเรา ต้องขยายอาณาเขต จนทุกครัวเรือนเป็นคนของเรา ไม่ใช่คนของเราเป็นเรา เป็นพวกเราที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือถ้าเราสามารถประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และฝ่ายปกครอง โดยใช้แผนพัฒนาหมู่บ้านเป็นเครื่องมือ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นแกนนำหลักในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นไปตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถดึงงบประมาณจากหน่วยงานอื่นมาทำงานให้เกิดผลสำเร็จ เพราะกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเนื้องานกระทรวงมหาดไทย คือ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” มากที่สุด เพราะต้องดูแลเด็กเล็ก คนยากจน ฝึกอาชีพ มีกองทุนช่วยเหลือดูแล การรวมกลุ่มอาชีพ เป็นภารกิจที่น่าภาคภูมิใจ โดยต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ หน้าที่เราต้องทำให้เด็กในหมู่บ้าน/ตำบลมีทักษะในการมีอาชีพ จนสามารถพึ่งตนเองได้

           อธิบดี พช. กล่าวอีกว่า การดำเนินงาน โคก หนอง นา โมเดล เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ ให้คนในชุมชนมีความ พออยู่ พอกิน พอร่มเย็น หาก 1 ครัวเรือนมีความพออยู่พอกินแล้ว จะสามารถแบ่งปันและช่วยเหลือไปสู่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด ภาค ประเทศ และโลกได้ ส่งผลให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สำหรับการดำเนินงาน โคก หนอง นา โมเดล ในปี 2563-2564 นั้น มีเป้าหมายในการดำเนินงานให้มีครัวเรือนที่สามารถพึ่งตนเองได้ จำนวนร้อยละ 70 ของครัวเรือนทั้งหมด ในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความโชคดีที่มีศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสง โดยมี ด.ต.นิรันดร์ พิมล เป็นปราชญ์อยู่ในพื้นที่ สามารถไปเรียนรู้และขอความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้แก่ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            ในการนี้ได้ขอความร่วมมือกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ให้นักศึกษาได้สวมใส่ผ้าไทยสัปดาห์ละ 1 วัน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนกลุ่มทอผ้าในพื้นที่ นำไปสู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!