ร้านเกมส์ละเมิดลิขสิทธิ์ จะจับโดยการล่อซื้อได้หรือไม่..!!!
.คอลัมน์:ทนายท้องถิ่นเล่ากฏหมาย
การล่อซื้อร้านเกมส์ โดยตัวแทนหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ เมื่อตัวแทนหรือเจ้าของลิขสิทธิ์เข้ามาในคอมแล้วล่อซื้อโดยให้เจ้าของร้านเปิดโปรแกรมที่เป็นลิขสิทธิ์ เมื่อพบโปรแกรมที่ต้องการก็ทำการจับกุมโดยอ้างว่าเจ้าของร้านละเมิดลิขสิทธิ์ จะจับโดยการล่อซื้อได้ไหม
การจับกุมคดีลิขสิทธิ์ ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นเรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชน อันเป็นความผิดอันยอมความได้ พูดประสาชาวบ้านก็คือเป็นความผิดส่วนตัว จะเอากระบวนการจับอันเป็นตวามผิดซึ่งหน้ามาใช้ไม่ได้ ก่อนที่จะมีการจับกุมจะต้องไปแจ้งความดำเนินคดีและขอหมายค้นหมายจับก่อน
ดังนั้น การที่ตัวแทนหรือเจ้าของลิขสิทธิ์พาพวกมาทำการล่อซื้อร้านคอมหรือร้านเกมส์ โดยไม่มีหมายค้น หรือหมายจับ พอเจอโปรแกรมที่เป็นลิขสิทธิ์จึงอ้างว่า เป็นความผิดซึ่งหน้า จะทำการจับกุมเจ้าของร้านเกมส์หรือผู้ดูแลไม่ได้ และการล่อซื้อถือว่าตัวแทนหรือเจ้าของลิขสิทธิ์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จึงไมใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543
การที่จำเลยกระทำความผิดโดยทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ของ โจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ ส. ตามที่ ส. ได้ล่อซื้อนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส.ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้นโจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เพราะฉะนั้น การล่อซื้อและการส่งหน้าม้ามาลงเพลงในคอมพิวเตอร์/การล่อเล่นในกรณีเกมส์เพลย์ จึงเป็นกรณีเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกานี้ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้อง…