สุพรรณบุรี-ลงพื้นที่แนะนำชาวไร่ข้าวโพดแก้ไขปัญหาหนอนกะทู้

สุพรรณบุรี-ลงพื้นที่แนะนำชาวไร่ข้าวโพดแก้ไขปัญหาหนอนกะทู้

ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี-ภัทรพล พรมพัก-ธนกฤต แตงโสภา-นิกร สิงห์พิมาตร์-นพดล แก้วเรือง

       เกษตรอำเภออู่ทองลงพื้นที่แนะนำชาวไร่ข้าวโพดแก้ไขปัญหาหนอนกะทู้กัดกินข้าวโพด

        นายวสันต์ จี้ปูคำ เกษตรอำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นางภัคกัญญา โสมภีร์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี นำเจ้าหน้าที่ร่วมกับนายสมนึก ปทุมสูติ กำนันตำบลจรเข้สามพัน ลงพื้นที่ หมู่ 5 ต.จรเข้สามพัน ตรวจสอบไร่ข้าวโพดของเกษตรกร ที่มีปัญหาถูกหนอนกะทู้กัดกินต้นข้าวโพดได้รับความเสียหาย

          จากการสอบถามนายกำจัด ช้างเขียว อายุ 56 ปี เกษตรกรปลูกข้าวโพด จำนวน 280 ไร่ และนายเสนาะ แผนสมบูรณ์ อายุ 52 ปี ปลูกข้าวโพด จำนวน 80 กว่าไร่ ทั้งคู่เล่าว่าได้ปลูกข้าวโพดสำหรับผลิตอาหารสัตว์ขณะนี้ข้าวโพดที่ปลูกไว้อายุได้ประมาณ 15-45 วัน ถูกหนอนกะทู้ลายจุด หรือหนอนกะทู้ข้าวโพด (หนอนผีเสื้อ) กัดกินยอดอ่อนได้รับความเสียหายบางส่วน ซึ่งหลังจากที่สังเกตพบว่ามีหนอนลงมากัดกินต้นข้าวโพดก็ได้ทำการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งสามารถควบคุมได้รับระดับหนึ่งแต่ไม่นานหนอนกะทู้ก็กลับมาอีก จึงทำให้เกษตรกรเกิดความกังวลว่าผลผลิตข้าวโพดที่ปลูกไว้จำนวนมากจะได้ผลกระทบที่ผ่านมาหลังจากเกิดปัญหาหนอนกะทู้กัดกินต้นข้าวโพด ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภออู่ทอง อยู่ตลอดและเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่มาช่วยเหลือแนะนำในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างไรให้ได้ผลและการสังเกตดูหนอนกะทู้ที่เข้ามากัดกินต้นข้าวโพด

           ทางด้านนายวสันต์ จี้ปูคำ เกษตรอำเภออู่ทอง กล่าวว่าได้รับแจ้งจากเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดว่ามีหนอนกะทู้ลายจุดข้าวโพด หรือหนอนกะทู้ข้าวโพด (หนอนผีเสื้อ) เข้ามามากัดกินต้นข้าว ซึ่งมีอายุ ตั้งแต่ 15-45 วัน ได้รับความเสียหายบางส่วนจึงลงพื้นที่พร้อมหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กำนันตำบลจรเข้สามพัน เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภออู่ทอง เข้าตรวจสอบและสำรวจพบว่าในพื้นที่อำเภออู่ทอง ที่ปลูกข้าวโพด มี 3 ตำบล ประกอบด้วย ต.หนองโอ่ง ต.จรเข้สามพัน และ ต.อู่ทอง โดย ต.หนองโอ่ง มีจำนวน 3,200 ไร่ เกษตรกรจำนวน 230 ราย ต.จรเข้สามพัน มีจำนวน 2,500 ไร่ เกษตรกรจำนวน 25 ราย และ ต.อู่ทอง มีจำนวน 500 ไร่ เกษตรกรจำนวน 10 ราย และต้นข้าวโพดได้รับความเสียหายเป็นบางส่วนขณะนี้ยังพอสามารถควบคุมได้

            ในเบื้องต้นได้แนะนำให้เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นอย่างถูกวิธีและควรเปลี่ยนสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันการดื้อยาที่ผ่านมาการฉีดพ่นยาของเกษตรกรที่ทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ที่ให้ฉีดพ่นยาในช่วงเวลาเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่ตัวหนอนออกมาหากิน ซึ่งได้ผลดีหนอนกะทู้ตาย แต่ถ้าฉัดพ่นยาช่วงกลางวันนั้นหนอนกะทู้จะฝังตัวอยู่ในต้นข้าวโพดก็จะไม่ได้ผล หลังจากควบคุมการแพร่ขยายของหนอนกะทู้แล้ว ทางศูนย์อารักขาพืชของกรมส่งเสริมการเกษตรก็จะนำตัวแมลงหางหนีบเพื่อเข้ามากินไข่หนอนกะทู้และทำลายหนอนกะทู้ตามธรรมชาติ ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้สามารถควบคุมได้อยู่ ในส่วนของพื้นที่ที่หนอนกะทู้กัดกินต้นข้าวโพดนั้นเป็นพื้นที่เฝ้าระวังไม่ใช่พื้นที่การแพร่ระบาดแต่อย่างใด

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!