สุพรรณบุรี-วัดเขาดีสลักสืบสานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี/ภัทรพล พรมพัก/วรเทพ บุญประเสริฐ/ธนกฤต แตงโสภา/นภดล แก้วเรือง/นิกร สิงห์พิมาตร์
วัดเขาดีสลักสืบสานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ
วัดเขาดีสลัก สืบสานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ พระสงฆ์ 200 รูป เดินลงมาจากมณฑปรอยพระพุทธบาท ตามบันไดนาค 805 ขั้น โดยในขบวนมีการจำลองพุทธประวัติ ขบวนเสลี่ยงพระพุทธ ขบวน พระอินทร์ พระพรหม เทวดา นางฟ้า นำหน้าพระสงฆ์ ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้ร่วมตักบาตรเทโวโรหนะ
ที่วัดเขาดีสลัก ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี นายภูสิต สมจิตต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานพิธีปิดงานสืบสานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ วัดเขาดีสลัก ประจำปี 2562 โดยมีผู้พิพากษาหัวหน้าศาล นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล ปลัดจังหวัดสุพรรณบุรี นายเสกสรร ถนอมกิตติ นายอำเภออู่ทอง หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ คณะเหล่ากาชาด นายกอบต.ดอนตา ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจ ทหาร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มสตรี พ่อค้า และ ประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 3,000 คน
จังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้ร่วมกับอำเภออู่ทอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนชาวจังหวัดสุพรรณบุรี จัดงานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะวัดเขาดีสลัก ขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ เพื่อส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี อันดีงาม ให้คงอยู่สืบต่อไป ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุพรรณบุรี ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะมีพระภิกษุสงฆ์จากทั่วทั้งจังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 200 รูป เดินลงมาจากมณฑปรอยพระพุทธบาท ตามบันไดนาค บันได 805 ขั้น โดยมีการจำลองพุทธประวัติ ขบวนเสลี่ยงพระพุทธ ขบวน พระอินทร์ พระพรหม เทวดา นางฟ้า นำหน้าพระสงฆ์ ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนได้ร่วมตักบาตรเทโวโรหนะ และร่วมขบวนแห่ผ้าห่มเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุสมัยทวารวดี จากบันไดนาคขึ้นไปห่มเจดีย์บนยอดสูงสุดของเขาดีสลัก รวมจำนวนบันได 805 ขั้น แห่ผ้าห่มพระธาตุเจดีย์พระบรมสารีริกธาตุสมัยวาราวดี เดินวนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ เพื่อความเป็นสิริมงคล การแสดงวัฒนธรรมต่างๆของนักเรียนในเขตอำเภออู่ทอง ชมนิทรรศการของดีและสินค้า OTOP อย่างมากมายมาจำหน่ายให้กับประชาชน
สำหรับประวัติของอำเภออู่ทองได้ค้นพบหลักฐานหลายประการ อันเป็นสิ่งยืนยันถึงความเป็นมา ที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดเขาดีสลัก เป็นวัดเก่าแก่ที่สันนิษฐานว่า ในอดีตบริเวณวัดเขาดีสลัก น่าจะเป็นชุมชนในสมัยทวารวดี บนยอดเขาสูงสุดมีเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสมัยทว่ารวดี ปรักหักพัง ร่วงหล่นลงมาเบื้องล่าง ยังปรากฏซากอยู่จนถึงปัจจุบัน พบเครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดียุคปลายพระเครื่อง พระถ้ำเสือ และรอยพระพุทธบาทสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14 – 16 อายุ 1,000 กว่าปีมาแล้ว ถือว่าเป็นโบราณวัตถุที่ล้ำค่าชิ้นหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี และของชาติ ซึ่งจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงมณฑปรอยพระพุทธบาทและวัดเขาดีสลักอย่างต่อเนื่อง
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/