สุพรรณบุรี-เรียกผู้ประกอบการเร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองพีเอ็ม2.5จากการเผาไร่อ้อย

สุพรรณบุรี-เรียกผู้ประกอบการเร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองพีเอ็ม2.5จากการเผาไร่อ้อย

ภาพ/ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดสุพรรณบุรี

เรียกผู้ประกอบการเร่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองพีเอ็ม2.5จากการเผาไร่อ้อย

                    ที่ จ.สุพรรณบุรี นายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี เป็นประธานในการประชุมหารือกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาอ้อย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุพรรณบุรี นายอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกอ้อย อุตสาหกรรมจังหวัด ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนโรงงานน้ำตาล ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เจ้าของโควต้าอ้อย เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจหัวหน้าโรงพัก และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

                     นายภูสิต เปิดเผยว่าวันนี้จังหวัดสุพรรณบุรีปัญหาเรื่องของค่า พีเอ็ม 2.5 เราได้ขอความอนุเคราะห์จากกรมควบคุมมลพิษมาตรวจวัดค่าอากาศปรากฏว่าของเราอยู่ในระดับปานกลางยังไม่ถึงอันตรายในภาพรวมส่วนที่เป็นปัญหาอยู่ปัจจุบันนี้คือกรณีการเผาไร่อ้อยเพื่อตัดผลผลิต สุพรรณบุรี มีพื้นที่การปลูกอ้อยเป็นอันดับสองรองจาก เพราะฉะนั้นทำให้ปัญหาของการเผาอ้อยมีเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงของฤดูหีบอ้อยเราพยายามหาสาเหตุสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหา ว่าจะทำให้เกษตรกรตัดอ้อยส่งโรงงานได้โดยอ้อยสดไม่ต้องเผาจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง วันนี้ได้เชิญทั้งตัวแทนของโรงงาน ในพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรี ตัวแทนเกษตรกรของสมาคมชาวไร่อ้อย กลุ่มเกษตรกร ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรการอ้อยทั้งหมดเพื่อระดมความคิดเห็นทั้งในเชิงของมาตรการเชิงรณรงค์และมาตรการบังคับ ในส่วนของการดำเนินการตรงนี้เนื่องจากว่าพยายามที่จะทำความเข้าใจปัญหาการที่ต้องเผาอ้อยก่อน ซึ่งเราก็ทราบว่ามีข้อจำกัดเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายในการตัดอ้อยค่าแรงงานที่จะเอามาใช้ตัดอ้อย ณ ปัจจุบันแนวทางในการแก้ปัญหาจะได้ผลอย่างยั่งยืนต้องอาศัยมาตรการทั้งระยะปานกลางและระยาวด้วยต้องอาศัยมาตรการของพื้นที่และมาตรการของรัฐบาลที่มาสนับสนุนด้วย

                     นายภูสิต กล่าวอีกว่ายกตัวอย่างง่ายๆเรื่องของแรงงานตัดอ้อยระหว่างตัดอ้อยเผากับตัดอ้อยสด ต้นทุนจะต่างกันค่อนข้างเยอะค่อนข้างจะเท่าตัวเพราะฉะนั้นก็จะเพิ่มต้นทุนให้กับชาวไร่อ้อย อันที่สองแรงงานตัดอ้อยหายากเราจะหาแรงงานที่รับตัดอ้อยสดเอามาแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้หรือไม่อันนี้เป็นการวางแนวทางระยะปานกลาง ปัญหาเฉพาะหน้าที่เราจะต้องแก้คือปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเผาไร่อ้อยเราต้องทำมาตรการเชิงป้องกัน โดยการกำหนดโซนนิ่งของพื้นที่ที่จะต้องควบคุมในเขตชุมชนในพื้นที่ห้ามเผาจะต้องมีรัศมีที่กำหนดไว้ในเขตชุมชนห้ากิโลเมตรอันที่สองในพื้นที่ที่อยู่ในเขตควบคุมหากเกษตรกรที่เป็นเจ้าของมีการเผาซึ่งตัวเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผาแต่ได้รับความเสียหายจากการเผาอ้อยต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเอาผิดกับคนเผาแต่ถ้าตัวเองเผาเองก็ต้องถูกดำเนินคดี นี่เป็นมาตรการของเชิงป้องกันนอกจากเรื่องนี้แล้วยังดำเนินการโดยให้ผู้ที่ถูกเผาไร่นอกจากไปแจ้งความดำเนินคดีแล้วต้องมาเข้าบัญชีทะเบียนเกษตรกรว่ากรณีนี้มีไร่อ้อยของตัวเองถูกเผาไปพื้นที่เท่าไหร่เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลเกษตรกรรายนี้ว่ามีการเผาไร่อ้อยเกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเอง

                       นอกจากนี้อ้อยที่ตัดออกมาถ้าเป็นอ้อยเผาก็ต้องมีขบวนการขนส่งเข้าโรงงาน ซึ่งขอความร่วมมือโรงงานแล้วว่าเรื่องของปริมาณอ้อยเผากับอ้อยสด ณ ขณะนี้เรามีปัญหาเรื่องของผลผลิตทางการเกษตรในช่วงฤดูอ้อยฤดูนี้เนื่องความเสียหายช่วงฝนแล้งกับภัยแล้งที่ผ่านมาทำให้ผลผลิตไม่เป็นๆไปตามเป้า เพราะฉะนั้นเรื่องผลผลิตเรื่องของอ้อยที่ส่งเข้าโรงงานพูดได้ว่าทุกโรงงานแย่งกันทั้งอ้อยเผาและอ้อยสดเนื่องจากผลผลิตน้อย การขอความร่วมมือโรงงานทั้งสามโรงในเขต จังหวัดสุพรรณบุรี เราก็ขอความร่วมมือไปแล้วว่าให้พิจารณาเลือกรับเฉพาะอ้อยสดเป็นหลักแต่ตอนนี้สัดส่วนอ้อยเผาจะมีสัดส่วนเยอะกว่า ในส่วนนี้ถึงแม้ว่าทางคณะกรรมการอ้อยน้ำตาลจะมีมาตรการเรื่องของการควบคุมปริมาณสัดส่วนอ้อยเผากับอ้อยไม่เผาไว้ก็ตามแต่ว่าความแตกต่างระหว่างการรับราคาของอ้อยเผากับอ้อยสดนั้นไม่มีผลกระทบต่อตัวเกษตรกรมากนักเพราะฉะนั้นเรื่องนี้ต้องแก้ไขในเชิงนโยบายด้วย แต่ในระดับพื้นที่เราใช้มาตรการของการตรวจสอบรถบรรทุกอ้อยที่นำส่งอ้อยที่เผาด้วยว่าเข้าไปสู่โรงงานไหนเป้าหมายที่รถบรรทุกจะไปส่ง ตรงนี้เราจะต้องมีมาตรการตั้งด่านตรวจกันว่าอ้อยที่เผาในรถบรรทุกจะไปส่งที่ไหนคิดว่ามาตรการส่วนนี้คงจะบรรเทาความเดือดร้อนได้ในเรื่องของการเผาอ้อย ดูแล้วการแก้ไขปัญหานี้น่าจะต้องทั้งนโยบายและเชิงปฏิบัติด้วยแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน

                        ส่วนสาเหตุของการเผาน่าจะมาจากหนึ่งคือไม่มีแรงงานที่จะมาตัดอ้อยสด แรงงานที่เอาเข้ามาสู่ระบบอาจจะมาจากเจ้าของโควตา ก็มักจะยื่นเงื่อนไขให้เผาก่อนถึงจะตัดอันที่สองต้นทุนค่าแรงตัดอ้อยเผากับตัดอ้อยสดนั้นต่างกันมากครึ่งต่อครึ่งเรื่องของปริมาณความเร่งด่วนของจำนวนอ้อยในไร่ที่จะต้องเอาเข้าโรงงาน ตรงนี้ก็มีส่วนทำให้ตัวเกษตรกรหรือเจ้าของโควต้าตัดสินใจเผาอ้อยแล้วก็ตัดอ้อยเข้าโรงงานอย่างที่บอกว่าความแตกต่างของอ้อยเผากับอ้อยสดราคายังไม่มีผลต่อการตัดสินใจเผาหรือไม่เผา

                          ในที่ประชุมวันนี้นายสมศักดิ์ รอดหลง ผู้อำนวยการด้านอ้อยโรงงานน้ำตาลมิตรผลได้มอบเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาทให้กับผู้นำหมู่บ้าน ตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ ซึ่งเป็นผู้ที่แจ้งเบาะแสและจับกุมผู้ที่ก่อเหตุเผาไร่อ้อยเอาไว้ได้ นอกจากนี้ทางโรงงานน้ำตาลมิตรผลก็จะมีรางนำจับให้กับผู้ที่แจ้งเบาะแสการเผาไร่อ้อยอีกรายละ 100,000 บาท สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวน590,225 ไร่พื้นที่เสียหาย 38,736 ไร่พื้นที่ปลูกไม่สามารถส่งโรงงานได้ 23,573 ไร่พื้นที่คงเหลือ จำนวน296,227 ไร่

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!