เผยเหตุสั่งเลิก ก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน
อะไรเป็นแรงจูงใจ? รุนแรงถึงขั้นสั่งยกเลิก โครงการ “บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน” อย่างเร่งด่วน ผิดปกติ!!
จากกรณีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 ที่ นายเฉลา ทิมทอง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว กรณีชาวคลองด่านทำประชาคมเพื่อมีมติร่วมกันในการจัดการกับสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่โครงการโรงบำบัดน้ำเสียที่ถูกทิ้งร้างให้เสียหายโดยมิได้นำไปใช้ประโยชน์ใดๆ โดยนายเฉลา กล่าวว่า ตนจะนำรายงานผลประชาคมฉบับสมบูรณ์ไปเสนอองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้มีการนำทรัพย์สิน ทั้งสิ่งปลูกสร้างและที่ดินที่มาจากภาษีของประชาชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชาวคลองด่านนั้น
ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนักวิชาการอิสระที่ศึกษา เก็บข้อมูลกรณีคลองด่านมากว่าสิบปี ว่า
โครงการฯ มีการลงนามทำสัญญาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540 สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (ระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2539-9 พฤศจิกายน 2540) ดำเนินการก่อสร้างตามปกติติดต่อกัน 2 รัฐบาล คือรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ระหว่าง 9 พฤศจิกายน 2540-9 กุมภาพันธ์ 2544)
เมื่อถึงรัฐบาลถัดมายุคที่มี นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการให้ นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ ที่ถูกอุ้มขึ้นเก้าอี้รักษาการอธิบดีกรมควบคุมมลพิษหมาดๆ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2546 และเพียงชั่วข้ามคืน นายอภิชัย ได้ร่างหนังสือถึงบริษัทกิจการร่วมค้า (NVPSKG) แจ้ง “สัญญาเป็นโมฆะ” สั่งให้ยุติการก่อสร้างทันที !! เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 มีการ “งุบงิบ” ประชุมลับกันอย่างเร่งด่วน คล้ายกับกรณีนิรโทษกรรมสุดซอยในสมัยต่อมาที่ทำกันตอนตี 4 ตี 5
ทุกอย่างเป็นไปอย่างเร่งด่วน มีพิรุธ!!!
ทั้งที่การก่อสร้างแล้วเสร็จถึง 98% รัฐจ่ายเงินไปแล้ว 90% กว่า 20,000 ล้านบาท
มีคำถามคำโตๆ ว่า
อะไรเป็นแรงจูงใจอย่างรุ่นแรง ถึงขั้นสั่งยกเลิกโครงการฯ อย่างเร่งรีบ ร้อนรน ผิดปกติ?!!
นักวิชาการท่านนี้ยังกล่าวอีกว่า “เมื่อพิจารณาบริบทแวดล้อมทั่วไปในห้วงระยะเวลา 5 ปีที่ดำเนินการก่อสร้าง ผ่านไปถึง 3 รัฐบาล (รัฐบาล ชวลิต , บรรหาร และ นายชวน) ปราศจากการครอบงำจากอำนาจทางการเมือง จนถึงยุครัฐบาลต่อมาที่มีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดังกล่าว ช่วงปี 9 กุมภาพันธ์ 2544-8 มีนาคม 2548 พรรคการเมืองใหญ่ที่ครองอำนาจในลักษณะ “Top Party” มีอำนาจต่อรองทางการเมืองเหนือพรรคอื่นๆ ต่อมาเมื่อหมดสมัยต้องเลือกตั้งใหม่ ก็ยังคงมีความต้องการเป็นพรรคที่มีอำนาจต่อรองเข้มแข็งต่อไป จึงมีความพยามควบรวมพรรคเล็กพรรคน้อยเข้าสู่พรรคตน”
นักวิชาการอิสระ ตั้งข้อสังเกต ใกล้เคียงกับที่ นายเฉลา ทิมทอง ที่นำข้อมูลในอดีตออกมากลางให้ดู
นักการเมืองใหญ่ขณะนั้นต้องการกวาดต้อนพรรคเล็กยุบรวมกับพรรคของตน เพื่อจะเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากมีอำนาจเบ็ดเสร็จเพียงพรรคเดียว มีการเปิดห้องเจรจากัน ซึ่งพรรคหนึ่งยอม ต่อมาจึงได้เป็นรัฐมนตรีจ้าวกระทรวง ส่วนอีกพรรคไม่ยอม จึงถูกโยนบาป เอาเรื่องบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านทำให้เป็นประเด็น แต่งตั้งคณะกรรมการสอบให้ผิด
“จากการที่สั่งให้ยุติการก่อสร้างโครงการฯ ทั้งที่สร้างเกือบแล้วเสร็จ รัฐจ่ายเงินไปมากมายมหาศาลแล้วนั้น ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ซ้ำยังโยนตราบาปให้กับชาวสมุทรปราการอีกด้วย” นายเฉลายังกล่าวในที่สุด
หนังสือคำสั่งของกรมควบคุมมลพิษที่สั่งให้ยกเลิกสัญญายุติการก่อสร้าง โรงบำบัดน้ำเสียเมื่อปี 2546 ที่ลงนามโดย นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ มีข้อสงสัยว่าเป็นหนังสือที่ถูกต้องตามระเบียบราชการหรือไม่.!? เพราะไม่เคยค้นพบต้นเรื่องที่เสนอมาตามขั้นตอนแต่อย่างใด!! นักวิชาการอิสระกล่าวทิ้งท้าย
“อินทรีย์สยาม” จะตีแผ่ ความลับ ของหนังสือสั่งเลิกโครงการนี้ เถื่อน หรือ ถูกต้อง หรือไม่ !! จารึก เป็นข้อมูลให้ชนรุ่นหลังค้นคว้าต่อไป !!